การพัฒนาพอดคาสต์วิดีโอเพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องการใช้เวลาว่างทางดิจิทัล

Main Article Content

วิพงษ์ชัย ร้องขันแก้ว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาคุณภาพพอดคาสต์วิดีโอเพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องการใช้เวลาว่างทางดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ และ 2) ศึกษาผลของพอดคาสต์วิดีโอเพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องการใช้เวลาว่างทางดิจิทัล เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาผู้นำนันทนาการ คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นแกนนำในการทำกิจกรรมในรุ่นและวิชาเอก จำนวน 46 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบทดสอบ เก็บรวมรวมโดยแจกแบบทดสอบ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนาคุณภาพพอดคาสต์วิดีโอโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาโดยรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีคุณภาพอยู่ในระดับดีทุกด้าน ผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อโดยรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณารายด้าน มีคุณภาพอยู่ในระดับดีทุกด้าน 2) ผลพอดคาสต์วิดีโอเพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องการใช้เวลาว่างทางดิจิทัลประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ 80/80 ได้ดำเนินการทดลอง 3 ครั้ง การทดลองครั้งที่ 1 เป็นการประเมินและตรวจสอบคุณภาพพอดคาสต์วิดีโอเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น การทดลองครั้งที่ 2 พอดคาสต์วิดีโอมีประสิทธิภาพ (E1/E2) 84.33/88.66 และการทดลองครั้งที่ 3 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) 81.11/87.88 3) ผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการใช้เวลาว่างทางดิจิทัลหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 มีความพึงพอใจต่อพอดคาสต์วิดีโอโดยรวมอยู่ในระดับมากมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดทุกด้าน

Article Details

How to Cite
ร้องขันแก้ว ว. (2024). การพัฒนาพอดคาสต์วิดีโอเพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องการใช้เวลาว่างทางดิจิทัล. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(7), 198–207. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/275669
บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2563). New Normal ชีวิตวิถีใหม่. เรียกใช้เมื่อ 11 ตุลาคม 2564 จาก https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2288

ชวันธร สัมฤทธิ์ และคณะ. (2555). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีพอดคาสต์สำหรับไอแพดเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเทคนิคการทำวิจัยพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ศึกษา. ใน รายงานสืบเนื่องจากประชุมการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 12. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 5-20.

ทนงศักดิ์ แสงสว่างวัฒนะ. (2563). New Normal วิถีชีวิตใหม่และการปรับตัวของคนไทยหลังโควิด-19: การงาน การเรียน และธุรกิจ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(3), 371-386.

ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2563). ประเภทของ Digital Content ที่ควรมี. เรียกใช้เมื่อ 11 ตุลาคม 2564 จาก https://www.popticles.com/marketing/types-of-content-we-should-have/

วิลาส ฉํ่าเลิศวัฒน์ และนฤพล ตั้งตรีรัตน์. (2551). VDO Podcast: TV ออนไลน์ทำเองได้ง่ายนิดเดียว. กรุงเทพมหานคร: โปรวิชั่น.

ศิตา เยี่ยมขันติถาวร และจรีลักษณ์ รัตนาพันธ์. (2564). การศึกษาผลการใช้บทเรียนภาษาอังกฤษผ่านพอดคาสต์เพื่อพัฒนาความรู้พื้นฐานภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วารสารพัฒนาการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยรังสิต, 15(2), 173-185.

อาลี ปรียากร. (2560). การศึกษาแนวทางการผลิตรายการกระจายเสียงเพื่อเผยแพร่ผ่านรูปแบบรายการพอดแคสต์ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Carnicelli, S. et al. . (2017). Digital Leisure Cultures Critical Perspectives. London: Routledge.

Fernandez, V. et al. (2015). Past, Present, and Future of Podcasting in Higher Education. New Frontiers of Educational Research. Retrieved October 11, 2021, from https://link.springer.com/chapter/10.1007/978-3-642-55352-3_14

Liu, W. (2015). A historical overview of uses and gratifications theory. Cross-Cultural Communication, 11(9), 71-78.

Ruggiero, T. E. (2000). Uses and Gratifications Theory in the 21st Century. Mass Communication and Society, 3(1), 3-37.