ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยสูงอายุที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ที่มารับบริการศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

พัชรวลัย ลอมแปลง
กัญญารัตน์ ผึ่งบรรหาร
สุชาดา ชุมศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังทดลอง เพื่อเปรียบเทียบความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการใช้ยาของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนและหลังใช้โปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเอง             2) เปรียบเทียบความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการใช้ยาก่อนและหลังใช้โปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 3) เปรียบเทียบการควบคุมความดันโลหิตหลังใช้โปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยสูงอายุที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ที่มารับบริการศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 60 คน เป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย คือ โปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเอง วีดีทัศน์การส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ยาควบคุมความดันโลหิตสูง โมบายแอปพลิเคชั่นแจ้งเตือนกินยา แบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการใช้ยา หาค่าความตรงเชิงเนื้อหารายข้ออยู่ระหว่าง .67 - 1.00 หาค่าความเชื่อมั่นด้วยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .91 และ .82 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ จำนวน ร้อยละ ไคว์สแคว และสถิติทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความรุนแรงและความเสี่ยง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค และพฤติกรรมการใช้ยาหลังทดลองดีกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) มีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความรุนแรงและความเสี่ยง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค และพฤติกรรมการใช้ยา สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) พบว่า กลุ่มทดลองมีจำนวนผู้ที่ควบคุมความดันโลหิตได้ร้อยละ 93.33 กลุ่มควบคุมมีจำนวนผู้ที่ควบคุมความดันโลหิตได้ ร้อยละ 13.33

Article Details

How to Cite
ลอมแปลง พ., ผึ่งบรรหาร ก., & ชุมศรี ส. (2024). ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยสูงอายุที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ที่มารับบริการศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(7), 240–253. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/275671
บท
บทความวิจัย

References

กมลชนก เจริญวงศา และคณะ. (2565). ผลของโปรแกรมส่งเสริมความร่วมมือการรับประทานยาโดยใช้แอบพลิชั่นไลน์ในผู้ป่วยสูงอายุโรคความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุ. วารสารพยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 49(2), 313-325.

เชม ฟ้ามิตินนท์ และคณะ. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการรับประทานยารักษาโรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ. PCFM, 3(2), 59-68.

ดุษนภา ภาคปิยวัชร์. (2560). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองด้านการใช้ยาอย่างเคร่งครัดในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ที่คลินิกเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี. ใน วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน. มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

นพาภรณ์ จันทร์ศรี และคณะ. (2563). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 6(2), 58-68.

ภัทร์ธนพร วงษ์เส และคณะ. (2562). ผลของรูปแบบการให้คำปรึกษาผู้ป่วยเพื่อความร่วมมือในการใช้ยาลดความดันโลหิต. ใน การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช ครั้งที่ 9. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิรินทรา ด้วงใส. (2560). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเองแบบ 5 เอ ต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. ใน วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง อุตรดิตถ์. (2566). สถิติประจำปี 2566. อุตรดิตถ์: ศูนย์สุขภาพชมชนเมือง อุตรดิตถ์.

สุพัตรา สิทธิวัง และคณะ. (2560). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิตของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. พยาบาลสาร, 47(2), 85-97.

สุภาพร สุปินธรรม. (2566). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการใช้ยาต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่ได้รับบริการผ่านระบบเภสัชกรรมทางไกล โรงพยาบาลป่าซาง จังหวัดลำพูน. เภสัชกรรมคลินิก, 29(1), 51-64.

ใหมมูน๊ะ สังขาว และเพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์. (2561). การพัฒนาและประเมินผลโปรแกรมสนับสนุนการจัดการ ตนเองต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาและความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้. ใน การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 8. จังหวัดนนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Aekplakorn, W. (2021). The sixth national health examination survey of Thailand population (2019 - 2020). Bangkok: Faculty of medicine Ramathibodi hospital Mahidol University.

American Heart Association. (2017). 2017 ACC/AHA blood pressure guideline treatment recommendations and risk For cardiovascular events and all - cause mortality. J Am Coll Cardiol, 72(11), 1187-1197.

Burnier, M. et al. (2020). Hypertension and Drug Adherence in the Elderly. Frontiers in Cardiovascular Medicine, 20(5), 1-7.

Centers for Disease Control and Prevention. (2019). National Center for Health Statistics. International Classification of Diseases, Tenth Revision, Clinical Modification (ICD - 10 - CM). Retrieved September 5, 2023, from from https://www.cdc.gov/nchs/icd/icd10cm.htm

Kanfer, F. H. & Gaelick - Buys, L. (1991). Self - management methods. In F. Kanfer & A. Goldtein (Eds.), Helping people change: A text book of methods. (4th ed.) New York: Pergamon Press.

Liu, P. et al. (2020). Frailty and hypertension in older adults: current understanding and future perspectives. Hypertension Research, 43(2020), 1352-1360.

Muli, S. et al. (2020). Prevalence, awareness, treatment, and control of hypertension in older people: results from the population-based KORA-age 1 study. BMC Public Health, 20(2020), 1049.

Ongkulna, K. et al. (2020). Enhancing Self - Management through Geragogy - Based Education in Older Adults with Uncontrolled Hypertension: A Randomized Controlled Trial. Pacific Rim Int J Nurs Res, 26(4), 690-705.

Strecher, V. & Rosenstock, I. (1997). The health belief model. In K. Glanz, F. M. Lewis, & B. K. Rimer (Eds.). Health behavior and health education: Theory, research, and practice (pp. 41 - 58). California: Jossey - Bass.

Sun, Z. (2014). Aging, Arterial Stiffness, and Hypertension. Hypertension, 65(2), 252-256.

World Health Organization. (2023). Global report on hypertension: The race against a silent killer. World Health Organization. Retrieved Febuary 1, 2023, from https://creativecommons.org.