การพัฒนาอุปกรณ์คลายเส้นจากภูมิปัญญาท้องถิ่นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแท่นยืน ตำบลสิงหนาท อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจชุมชน 2) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อุปกรณ์คลายเส้นจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของวิสาหกิจชุมชน 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่ออุปกรณ์คลายเส้น ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิงคุณภาพ เน้นการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ระหว่างผู้วิจัย ชุมชน ผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน นักออกแบบ ผู้ใช้งานจำนวน 60 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย อุปกรณ์คลายเส้นต้นแบบ และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กำลังเผชิญกับความท้าทายสำคัญที่ส่งผลต่อศักยภาพในการแข่งขันและโอกาสทางธุรกิจ ได้แก่ข้อจำกัดด้านความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ สินค้าที่มีจำหน่ายเน้นการใช้งานพื้นฐาน ส่งผลสามารถถูกเลียนแบบได้ง่าย ขาดจุดเด่นดึงดูดผู้บริโภค การออกแบบและการดูแลขั้นตอนการผลิตที่ขาดการใส่ใจรายละเอียด น้ำหนักของแท่นยืนที่มาก ลำบากในการขนย้าย และการไม่รองรับความต้องการใช้งานที่หลากหลายของผู้บริโภค 2) ผู้วิจัยพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์คลายเส้น จำนวน 3 รูปแบบ แต่ละรูปแบบสามารถปรับระดับพื้นอุปกรณ์ได้ 4 ระดับ เหมาะสำหรับผู้ที่ประสบปัญหาอาการอักเสบกล้ามเนื้อขา ใช้งานได้ทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกาย ช่วยป้องกันและลดอาการอักเสบ ลดความเมื่อยล้าบริเวณกล้ามเนื้อขาลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจโดยรวมจากผู้ใช้งานต้นแบบอุปกรณ์คลายเส้น ด้านการออกแบบมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.84 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.57
Article Details
References
จุติมา ชูเผือก. (2549). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการเดินแบบภูมิปัญญาไทยต่อสมรรถภาพทางกาย ความสามารถในการดูแลตนเอง และการรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน : กรณีศึกษาตำบลพนมวังก์ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง. ใน วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ชัยรัตน์ อัศวางกูร. (2548). ออกแบบให้โดนใจ: คู่มือการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้ประกอบการและนักออกแบบ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.
น้ำฝน ใจดี และคณะ. (2566). การออกแบบและพัฒนาแบรนด์เพื่อสร้างอัตลักษณ์และเพิ่มคุณค่าถ่านชีวมวลอัด แท่งของวิสาหกิจชุมชนหนองเลงพัฒนา จังหวัดชลบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(10), 350-363.
นิรัช สุดสังข์. (2559). ระเบียบวิธีวิจัยทางการออกแบบ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
ปิยะ บรรพลาและคณะ. (2563). การสร้างและหาประสิทธิภาพอุปกรณ์คลายเส้นกล้ามเนื้อขา. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา: 4(1),130-135.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับที่ 13). (2565). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษที่ 258 ง. หน้า 12 (1 พฤศจิกายน 2565).
ยุวดี พรธาราพงศ์ และอาณัฎ ศิริพิชญ์ตระกลู. (2565). การออกแบบนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สําหรับผู้สูงอายุจากภูมิปัญญาท้องถิ่นไม้ตาลโตนด. วารสารศิลป์ปริทัศน์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 10(1),62-70.
รัฐไท พรเจริญ และคณะ. (2565). การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุดนวดแผนไทยเพื่อสุขภาพวิสาหกิจชุมชนอาภานวดแผนไทย จังหวัดอ่างทอง. The New Viridian Journal of Arts, Humanities and Social Sciences, 2(2), 2773-8787.
วัชรินทร์ จรุงจิตสุนทร. (2548). หลักการและแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: แอ๊ปป้า พริ้นติ้ง กรุ๊ป.
ศิริวัฒน์ สาระเขตต์ และคณะ. (2565). แผนที่ศิลปะโคราช. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 35 (2), 82-96.