ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคมและสถาบันของโครงการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี

Main Article Content

ธนัญชกร ปกิตตาวิจิตร
สุกัญญา เอมอิ่มธรรม
สุขุมวิทย์ ไสยโสภณ
ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์
จักรกฤษ เจียวิริยบุญญา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผลกระทบโครงการแก้ไขปัญหาพยาธิใบไม้ในตับและมะเร็งท่อน้ำดีที่มีต่อ เศรษฐกิจ สังคมและสถาบัน 2) เพื่อแสดงถึงความคุ้มค่า คุ้มทุน อรรถประโยชน์ ที่เกิดจากการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย ประชากรศึกษา คือ กลุ่มที่ขึ้นทะเบียนเพื่อเข้ารับการคัดกรองพยาธิใบไม้ตับ อาศัยในจังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม และร้อยเอ็ด อายุ 40 ปีขึ้นไป กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 752 ราย สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือการวัดอรรถประโยชน์ใช้วิธีวัดค่าทางตรง Visual analog scale (VAS) และการวัดค่าทางอ้อมด้วยวิธี EuroQoL (5Q-5D-5L) การวัดมูลค่าความเต็มใจจ่าย ใช้วิธีการต่อรอง ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ย VAS เท่ากับ 76.90 (SD = 14.33) และ สถานะสุขภาพ 5 ด้าน (5Q-5D-5L) พบอาการไม่สุขสบายเพียงเล็กน้อย และคำนวณหาค่าอรรถประโยชน์ซึ่งสะท้อนคุณภาพชีวิตประจำวันมีค่าเท่ากับ 0.89 (SD = 0.11) การตรวจด้วยวิธีอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง ได้ค่าดังกล่าวที่ไม่แตกต่างกัน คือ 77.12 (SD = 14.15) และ 0.89 (SD = 0.109) ความเต็มใจจ่ายในชุดตรวจสำเร็จรูป มีมูลค่าเฉลี่ย 187 บาท ต่อครั้ง และการตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องได้ค่าความเต็มใจจ่ายเฉลี่ย 796 บาท ต่อครั้ง เหตุผลที่ไม่จ่าย ราคาสูงกว่าความเต็มใจจ่ายของตนเองเนื่องจากมีข้อจำกัด ควรจัดให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในการเข้าถึงบริการสุขภาพ เพื่อประโยชน์ของประชาชน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง มีความเห็นตรงกันว่า เป็นโครงการที่เกิดประโยชน์ต่อประชาชน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม รวมถึงสถาบัน หากกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริงทั้งเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติการ จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างสูงสุด

Article Details

How to Cite
ปกิตตาวิจิตร ธ., เอมอิ่มธรรม ส., ไสยโสภณ ส., ชามะรัตน์ ธ., & เจียวิริยบุญญา จ. (2024). ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคมและสถาบันของโครงการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(8), 149–160. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/276284
บท
บทความวิจัย

References

กฤตภาส กังวานรัตนกุล. (2563). การวัดค่าอรรถประโยชน์. ใน วิทยานิพนธ์ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

กัมปนาท วิจิตรศรีกมล. (2564). การประเมินผลกระทบจากงานวิจัยและพัฒนาหลักการเบื้องต้นและแนวทางปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันคลังสมองของชาติ.

จิตราภรณ์ วงศ์วิวัฒน์ไชย. (18 พ.ค. 2566). หัวข้อ อรรถประโยชน์ของโครงการฯ. (ธนพฤกษ์ ชามะรัมย์, ผู้สัมภาษณ์)

ชวนพิศ สุนีย์. (10 พ.ค. 2566). หัวข้อ อรรถประโยชน์ของโครงการฯ. (ธนพฤกษ์ ชามะรัมย์, ผู้สัมภาษณ์)

ณรงค์ ขันตีแก้ว. (2564). โรคมะเร็งท่อน้ำดีในประเทศไทย. สถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

วัชรินทร์ ลอยลม. (17 พ.ค. 2566). หัวข้อ อรรถประโยชน์ของโครงการฯ. (ธนพฤกษ์ ชามะรัมย์, ผู้สัมภาษณ์) พ.ค. : 17 .

สุปราณี วรพันธุ์. (14 พ.ค. 2566). หัวข้อ อรรถประโยชน์ของโครงการฯ. (ธนพฤกษ์ ชามะรัมย์, ผู้สัมภาษณ์)

อรรถพล ติตะปัญ. (17 พ.ค. 2566). หัวข้อ อรรถประโยชน์ของโครงการฯ. (ธนพฤกษ์ ชามะรัมย์, ผู้สัมภาษณ์)

Alsaleh. M., et al. (2019). haracterisation of the Urinary Metabolic Profile ofLiver Fluke Associated Cholangiocarcinoma. Journal Of Clinical And Experimental Hepatology, 9(6), 657- 675.

Friese, S. (2019). Qualitative data analysis with ATLAS.ti (3rd ed.). New York: The SAGE Publications Ltd.

Worasith, C., et al. (2020). Application of urine antigen assay to evaluate outcomes of praziquantel treatment and reinfection in opisthorchiasis in northeast Thailand. Transactions of the Royal Society of Tropical Medicine and Hygiene, 114(10), 751-761.