การถือครองเงินสด เงินทุนหมุนเวียน และโครงสร้างเงินทุนที่มีอิทธิพล ต่อความเสี่ยงทางการเงินของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ

Main Article Content

เปรมารัช วิลาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการถือครองเงินสด เงินทุนหมุนเวียน และโครงสร้างเงินทุนมีอิทธิพลต่อความเสี่ยงทางการเงินของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ มี กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าอุตาสหกรรม อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ทรัพยากร บริการ และเทคโนโลยี ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ ระหว่างปี พ.ศ. 2564 ถึง ปี พ.ศ. 2566 ในประเทศไทย จำนวน 212 บริษัท เป็นเวลา 3 ปี ได้คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเงื่อนไขคือยกเว้นบริษัทที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วน จำนวน 9 บริษัท และยกเว้นกลุ่มอุตสาหกรรมการเงินเนื่องจากรายงานการเงินมีเนื้อหาแตกต่างจากรายงานการเงินกลุ่มอุตสาหกรรมอื่น กลุ่มตัวอย่างรวม 549 กลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณพบว่าการถือครองเงินสดมีอิทธิพลทิศทางเดียวกันกับความเสี่ยงทางการเงินอย่างมีระดับนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.000 น้อยกว่า 0.05) และเงินทุนหมุนเวียนมีอิทธิพลทิศทางเดียวกันกับความเสี่ยงทางการเงินอย่างมีระดับนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.000 น้อยกว่า 0.05) ซึ่งโครงสร้างการถือหุ้นไม่มีอิทธิพลต่อความเสี่ยงทางการเงิน (p-value=0.068 มากกว่า 0.05) ตัวแปรควบคุมของงานวิจัยครั้งนี้คือขนาดของกิจการ (p-value = 0.822 มากกว่า 0.05) และความสามารถในการทำกำไรไม่มีอิทธิพลต่อความเสี่ยงทางการเงิน(p-value = 0.599 มากกว่า 0.05) แสดงให้เห็นว่าการให้ความสำคัญในการวางแผนการดำเนินงานการถือครองเงินสด เงินทุนหมุนเวียนของกิจการเนื่องจากการถือครองเงินสดและมีเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้นมีอิทธิพลให้กิจการมีความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น

Article Details

How to Cite
วิลาลัย เ. (2024). การถือครองเงินสด เงินทุนหมุนเวียน และโครงสร้างเงินทุนที่มีอิทธิพล ต่อความเสี่ยงทางการเงินของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(9), 1–8. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/276299
บท
บทความวิจัย

References

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด. (2567). ตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ. เรียกใช้เมื่อ 10 มิถุนายน 2567 จาก https://www.scbam.com/th/knowledge-glossary/equity/mai

รัฐติพร กมลกิจเจริญ. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างเงินทุนและความสามารถในการทำกำไรของ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ใน สารนิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุภาวดี มัจฉิมาดิลก. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างเงินทุนกับความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย SET. ใน สารนิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Abor, J. (2005). The effect of capital structure on profitability: an empirical analysis of listed firms in Ghana. Journal of Risk Finance, 6(5), 438-445.

Ahmed et al. (2022). Does economic risk affect corporate cash holdings? Journal of Economic and Administrative Sciences, 38(3), 471-484.

Giacomo, M. & Edoardo, P. (2017). US REITs capital structure determinants and financial economic crisis effects. Journal of Property Investment & Finance, 35(6), 556-574.

Godfred et al. (2010). Risk exposure and corporate financial policy on the Ghana Stock Exchange. The Journal of Risk Finance, 11(3), 323-332.

Mesquita, J. M. C. & Lara, J. E. (2003). Capital structure and profitability: The Brazilian case. In Academy of Business and Administration Sciences Conference. Vancouver.

Tongkong, S. (2012). Key Factors Influencing Capital Structure Decisions and its Speed of Adjustment of Thai Listed Real Estate Companies. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 40(2012), 716-720.

Zeitun, R. & Tian, G. (2007). Capital Structure and Firm Performance: Evidence from Jordan. Australia Accounting Business and Finance Journal, 1(2007), 148-168.