นวัตกรรมการตลาดของธุรกิจก่อสร้างของบริษัท เจพี เอเชีย อินโนเวชั่น จำกัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาด้านการตลาด และความต้องการพัฒนานวัตกรรมการตลาดดิจิทัลของธุรกิจก่อสร้างในบริษัท เจพี เอเชีย อินโนเวชั่น จำกัด 2) พัฒนานวัตกรรมการตลาดดิจิทัลของธุรกิจก่อสร้างในบริษัท เจพี เอเชีย อินโนเวชั่น จำกัด เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์จำนวน 18 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง โดยกำหนดคุณสมบัติให้เป็นเจ้าของกิจการ ฝ่ายขาย ผู้ช่วยฝ่ายขาย พนักงานขาย ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ และฝ่ายวิศวกร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ส่วนกลุ่มเป้าหมายในการสนทนากลุ่มจำนวน 10 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงโดยกำหนดคุณสมบัติเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยผู้สอนในสาขาการตลาด วิศวกรด้านการก่อสร้างที่มีใบประกอบวิชาชีพวิศวกร กรรมการผู้จัดการบริษัทฯ หัวหน้าฝ่ายขายและผู้ช่วยฝ่ายขาย และหัวหน้าฝ่ายบุคคล เครื่องมือวิจัยคือแบบฟอร์มประเมินการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาด้านการตลาด คือ ขาดการใช้เทคโนโลยีสื่อสารการตลาดที่ทันสมัย ขาดกิจกรรมการส่งเสริมการตลาด เช่น การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การนำเสนอภาพลักษณ์ไม่ชัดเจน และพนักงานขาดทักษะด้านการสื่อสารภาษาต่างประเทศ ส่วนความต้องการพัฒนานวัตกรรมการตลาดดิจิทัลของธุรกิจก่อสร้าง พบว่า ต้องการพัฒนาช่องทางโฆษณา ประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีส่งเสริมภาษาต่างประเทศ เทคโนโลยีส่งเสริมทักษะด้านการปฏิบัติงานให้กับบุคลากร และฝ่ายสื่อสารการตลาด 2) การพัฒนานวัตกรรมการตลาดดิจิทัล ได้แก่ การพัฒนาด้านการบริการ การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาการส่งเสริมการตลาด และการพัฒนากระบวนการ ผลการประเมินนวัตกรรมการตลาด พบว่า ในภาพรวมมีความหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์และความถูกต้องในระดับมาก
Article Details
References
จักรพันธ์ ปู่คำปัน. (2566). Company Profile. เรียกใช้เมื่อ 15 มีนาคม 2567 จาก http://jp-asia.co.th/page/main.php?page=content&c=5
ชยพล ศิริธัญกร. (2565). แนวทางการจัดการเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจก่อสร้างที่อยู่อาศัยในพื้นที่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(2), 321-335.
พุทธชาด ลุนคา. (2567). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2567-2569: ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง. ใน รายงานการวิจัย. ศูนย์วิจัยกรุงศรีฯ.
ศุภกร เจียรนันทพิสุทธิ์ และคณะ. (2562). แนวโน้มตลาดธุรกิจสินค้าออนไลน์ที่ต้องมีระยะเวลาในการสั่งซื้อในอนาคต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 3(1), 9-18.
สุกฤตา ปรีชาว่อง. (2559). แผนปรับปรุงธุรกิจค้าส่งวัสดุก่อสร้างกรณีศึกษาร้านค้าส่งวัสดุก่อสร้าง จังหวัดขอนแก่น. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 7(2), 133-149.
สุภารัตน์ แพหีต และณัฐสุดา กาญน์จเจริญ. (2559). ประเภทของสื่อออนไลน์. เรียกใช้เมื่อ 31 สิงหาคม 2567 จาก https://sites.google.com/site/technologysvc/prapheth-khxng-sangkhm-xxnlin
เสาวภาคย์ แหลมเพ็ชร. (2559). พฤติกรรมและผลกระทบจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนนทบุรี. สุทธิปริทัศน์, 30(93), 116-130.
Central Connecticut State University. (1973). Helpful Hints for Conducting a Focus Group. NEW BRITAIN: DAVIDSON HALL.
Delbecq, A. L. et al. (1975). Group techniques for program Planning: A guide to nominal group and Delphi processes. Glenview, IL: Scott, Foresman and Company.
Krueger, R. A. & Casey, M. A. (2008). Focus Groups A Practical Guide for Applied Research. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.
Saaty, T. L. (1970). How to Make a Decision The Analytic Hierarchy Process. European Journal of Operational Research, 48(1), 9-26.
SCB IEC. (2023). Construction outlook 2023. Retrieved April 24, 2024, from https://www.scbeic.com/th/detail/file/product/8997/gkvm085n8w/Industry-Insight_Construction_20230512.pdf
Sharon, P. & Thierry, V. (2020). Marketing innovation: a systematic review. Journal of Marketing Management, 36(5), 1-31.
Stufflebeam, D. L. (1971). The Relevance of the CIPP Evaluation Model for Educational Accountability. Journal of Research and Development in Education, 5(1), 19-25.