การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านอาบช้าง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู

Main Article Content

พรชนก วิลัยลาน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการ 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบ 3) ทดลองใช้รูปแบบ และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบ โดยเป็นการวิจัยเชิงพัฒนา มีวิธีดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการ กับครูผู้สอนที่ไม่ได้เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จำนวน      92 คน ขั้นตอนที่ 2 สร้างและตรวจสอบรูปแบบ โดยใช้ข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มาสร้างรูปแบบ และตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบ กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 คน และขั้นตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบ ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์ กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพและการเสริมสร้างความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความต้องการ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการสร้างรูปแบบมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ เนื้อหาของรูปแบบ กระบวนการของรูปแบบ และการวัดและประเมินผล การตรวจสอบของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ความถูกต้องภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ความเป็นไปได้ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า 3.1) ครูมีความสามารถในการออกแบบและเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด 3.2) ครูมีความสามารถในการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในชั้นเรียน ภาพรวมเป็นรายบุคคลอยู่ในระดับดีเยี่ยม และ 3.3) สรุปการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก จุดเด่น คือ มีการประชุมประจำเดือน ครูได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และ            4) ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า ความเหมาะสมภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติของรูปแบบ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
วิลัยลาน พ. (2024). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านอาบช้าง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(9), 166–176. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/276557
บท
บทความวิจัย

References

กันต์ธร หิรัญลักษณ์. (2564). ชุมชนเเห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธีรยุทธ รุจาคม. (2561). การดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดสมุดปราการ กลุ่ม 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยพะเยา.

มานพ จิตแม้น. (2563). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โรงเรียนเทศบาลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(1), 45-53.

สรปรัชญ์ ไวกสิกรณ์. (2562). รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครู ตามแนวทางของสถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ในโรงเรียนมัธยมศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). แนวทางการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก: ถอดบทเรียนจากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: เอส.บี.เค. การพิมพ์ จำกัด.

สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือประกอบการอบรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” สู่สถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

หทัยชนก พรรคเจริญ และคณะ. (2561). เทคนิคการสุ่มตัวอย่างและการประมาณค่า. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มระเบียบวิธีสถิติ สำนักนโยบายและวิชาสถิติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5 th ed). New York: Harper & Row.

Guiterez, S. B. (2016). Building a Classroom-based Professional Learning Community Through Lesson Study: Insights from Elementary School Science Teachers. Professional Development in Education, 42(5), 801-817.

Willems, I. & Van den Bossche, P. (2019). “Lesson Study Effectiveness for Teachers’ Professional Learning: a Best Evidence Synthesis”. International Journal for Lesson and Learning Studies, 8(4), 257-271.