อิทธิพลของคุณภาพเทคโนโลยีและการยอมรับเทคโนโลยีประกันชีวิตต่อแนวโน้ม การตัดสินใจซื้อประกันชีวิตผ่านแอปพลิเคชัน

Main Article Content

ดวงหทัย วุฒิทวีวัฒน์
ฐิติวดี ชัยวัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยคุณภาพเทคโนโลยีที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีประกันชีวิต InsurTech 2) ศึกษาระดับการยอมรับเทคโนโลยีและแนวโน้มการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตผ่านแอปพลิเคชัน 3) ตรวจสอบความสอดคล้องโมเดลของคุณภาพเทคโนโลยี และการยอมรับเทคโนโลยีประกันชีวิต InsurTech ต่อแนวโน้มการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตผ่านแอปพลิเคชัน 4) ศึกษาอิทธิพลของคุณภาพเทคโนโลยี และการยอมรับเทคโนโลยีประกันชีวิต InsurTech ต่อแนวโน้มการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่เคยใช้เทคโนโลยี Insurtech ผ่านแอปพลิเคชันของบริษัทประกันชีวิต จำนวน 300 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจงและการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามผ่านระบบออนไลน์ แล้วนำกลับมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐาน ใช้การวิเคราะห์สมการโครงสร้างและการทดสอบเส้นทางอิทธิพล ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยคุณภาพเทคโนโลยีในภาพรวมมีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีประกันชีวิต (InsurTech) ในระดับมาก (  = 4.16) 2) การยอมรับเทคโนโลยี InsurTech        ในภาพรวมในระดับมาก (  = 4.25) และแนวโน้มการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตผ่านแอปพลิเคชันในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 4.26) 3) โมเดลคุณภาพเทคโนโลยี และการยอมรับเทคโนโลยีประกันชีวิต InsurTech ต่อแนวโน้มในการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 4) คุณภาพเทคโนโลยี และการยอมรับเทคโนโลยีประกันชีวิต InsurTech มีอิทธิพลทางตรงต่อแนวโน้มในการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตผ่านแอปพลิเคชันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
วุฒิทวีวัฒน์ ด., & ชัยวัฒน์ ฐ. (2024). อิทธิพลของคุณภาพเทคโนโลยีและการยอมรับเทคโนโลยีประกันชีวิตต่อแนวโน้ม การตัดสินใจซื้อประกันชีวิตผ่านแอปพลิเคชัน. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(9), 245–254. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/276620
บท
บทความวิจัย

References

กมลรัฐ อินทรทัศน์. (2557). เอกสารการสอนชุดวิชาการสื่อสารกับการพัฒนา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นัฏฐภัค ผลาชิต. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ผ่านช่องทางธนาคารกรุงไทย ภายในสำนักงานเขตปทุมธานี. ใน สารนิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

นัทยา โพธิ์พร้อม. (2564). การยอมรับเทคโนโลยีเพื่อการตอบสนองผู้บริโภคในตลาดของธุรกิจประกันชีวิตและรถยนต์ในประเทศไทย. ใน สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการและกลยุทธ์. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศิรินทิพย์ กุลจิตรตรี และสุภัทรศักดิ์ คำสามารถ. (2563). แนวทางการบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น. Journal of Modern Learning Development, 5(3), 245-259.

สายัญณ์ สันติเพ็ชร. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. ใน สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อรรถเดช สรสุชาติ. (2563). สถิติประยุกต์และระเบียบวิธีวิจัย. ขอนแก่น: บริษัทกรีนเนสไวด์ จำกัด.

Ajzen, I. & Fishbein, M. (1980). Understanding attitudes and predicting social behavior. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Chan, S. (2010). Building sustainable tourism destination and developing responsible tourism: conceptual framework, key issues and challenges. Tourism Development Journal- An International Research Journal, 8(1), 24-32.

Davis, F. D. (1989). Perceived Usefulness, Perceived Ease of Use, and User Acceptance of Information Technology. MIS Quarterly, 13(3), 319-340.

Dremel, C. & Uebernickel, E. (2018). Exploring characteristics and transformational capabilities of InsurTech innovations to understand insurance value creation in a digital world," Electronic Markets, Springer; IIM University of St. Gallen, 28(3), 287-305.

Kamal, S. A. et al. (2020). Investigating acceptance of telemedicine services through an extended technology acceptance model (TAM). Technology in Society, 60(4), 101-112.

Kline, R. B. (2016). Principles and Practice of Structural Equation Modeling (4thed.). New York, NY: The Guilford Press.

Laura, C. et al. (2019). The Role of Leadership in a Digitalized World: A Review. Journal Frontiers in Psychology, 10(1), 1-21.

Meagher, G. et al. (2019). Meeting the social and emotional support needs of older people using aged care services. In Health Services Union & United Voice. Macquarie University, UNSW Sydney and RMIT University.

Muneer, A. M. & Allam, H. (2021). Technological Sustainability and Business Competitive Advantage. Switzerland: Springer Cham.

OECD. (2017). Measuring Distance to the SDG Targets 2017. In An assessment of where OECD countries. OECD Paris.

Putri, W. K. & Pujani, V. (2023). The Influence of System Quality, Information Quality, E-service Quality, and Perceived Value on Shopee Consumer Loyalty in Padang City. The International Technology Management Review, 8(1), 10-15.

Rafique, H. et al. . (2020). Investigating the Acceptance of Mobile Library Applications with an Extended Technology Acceptance Model (TAM). Computers & Education, 145(2020), 20-32.

Schumacker, R. E. & Lomax, R. G. (2015). A Beginner's Guide to Structural Equation Modeling (4thed.). New York, NY: Routledge.