การพัฒนาวิสาหกิจชุมชน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากชุมชน ศึกษาเฉพาะกรณีผ้าทอโบราณนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ระดับการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน 2) พัฒนายกระดับเศรษฐกิจฐานรากและ 3) สร้างเครือข่ายการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนต่อการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ผ้าทอโบราณนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง เป็นการวิจัยผสานวิธี มีขอบเขตเนื้อหา ด้านผู้นำและการมีส่วนร่วมของสมาชิก ด้านการบริหารจัดการ ด้านการลงทุน ด้านการผลิต ด้านการตลาด และด้านการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเชิงพุทธ ผู้วิจัยใช้ประชากรทั้งหมดที่เป็นสมาชิกในวิสาหกิจชุมชนผ้าทอโบราณนาหมื่นศรี จำนวน 131 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าทอ นักวิชาการตลาด อดีตสมาชิกอาวุโสในวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งสิ้น 25 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาด้านผู้นำและการมีส่วนร่วมของสมาชิกในภาพรวมอยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ ด้านการตลาด ด้านการลงทุน ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเชิงพุทธ และด้านการผลิต และด้านการบริหารจัดการ ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนคือ การกำหนดมาตรฐานวิสาหกิจชุมชนไว้อย่างชัดเจน การวางแผนจัดหาเงินทุนสำรองไว้ใช้ในการดำเนินงานของกลุ่มอย่างเพียงพอ การสร้างเครือข่ายขยายฐานการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากเดิม การคิดค้นวิธีการใหม่ๆ มาใช้ในกระบวนการผลิตอยู่เสมอ และมีการปรับปรุงคุณภาพของสินค้าอย่างต่อเนื่อง สมาชิกของกลุ่มมีการยึดมั่นในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3) การสร้างเครือข่ายพัฒนา สามารถสร้างเครือข่ายได้ 6 เครือข่าย คือ ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติการทอผ้า ผู้จำหน่าย นักวิชาการ สถาบันการศึกษา นักวิชาการด้านการตลาด ผู้ทำธุรกิจผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP และผ้าทอพื้นบ้านภาคใต้ อบรมให้ความรู้สมาชิก
Article Details
References
กนกพร ฉิมพลี. (2559). รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่องจักสาน: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
กมลวรรณ สังข์ทอง. (2562). ปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านการบริหารจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อความยั่งยืน. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 11(2), 213-234.
ขวัญฤดี ตันตระบัณฑิตย์. (2551). แนวทางการพัฒนาธุรกิจชุมชน. วารสารการพัฒนาท้องถิ่น, 3(1), 211-223.
ชนพงษ์ อาภรณ์พิศาล. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน ในภาคกลาง. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยสยาม.
ธนาวิทย์ บัวฝ้าย. (2565). ธุรกิจชุมชน: แนวทางในการพัฒนาชนบท. เรียกใช้เมื่อ 18 เมษายน 2565 จาก http://www.hu.ac.th/academic/article/Mk/Business%20community.html
ธเนศ ศิริกิจ. (2564). กลยุทธ์การตลาดยุคใหม่ พฤติกรรมผู้บริโภค 2 ลักษณะ ซื้อด้วยเหตุผล ผสานซื้อด้วยอารมณ์. เรียกใช้เมื่อ 29 ธันวาคม 2563 จาก https://positioningmag. com/1278944
นวัทตกร อุมาศิลป์. (17 มี.ค. 2566). การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากชุมชน ศึกษาเฉพาะกรณีผ้าทอโบราณนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง. (ศุภสิน วัตตพรหม, ผู้สัมภาษณ์)
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวิริยาสาส์น.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. (2565). พลิกโฉมประเทศไทยสู่สังคมก้าวหน้าเศรษฐกิจมูลค่าอย่าง ยั่งยืน. เรียกใช้เมื่อ 14 มิถุนายน 2565 จาก https://www.nesdc.go.th/download/Yearendpdf
พระครูอรุณสุตาลังการ. (17 มี.ค. 2566). การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากชุมชน ศึกษา เฉพาะกรณีผ้าทอโบราณนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง. (ศุภสิน วัตตพรหม, ผู้สัมภาษณ์)
พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2562). การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. เรียกใช้เมื่อ 14 กันยายน 2566 จาก https://www.ratchakitcha.soc.go.thPDF
พิมพ์ชนก สืบเพ็ง. (17 มี.ค. 2566). การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากชุมชน ศึกษาเฉพาะกรณีผ้าทอโบราณนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง. (ศุภสิน วัตตพรหม, ผู้สัมภาษณ์)
ศุภชัย เสือกลับ. (17 มี.ค. 2567). การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากชุมชน ศึกษาเฉพาะกรณีผ้าทอโบราณนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง. (ศุภสิน วัตตพรหม, ผู้สัมภาษณ์)
อารอบ เรืองสังข์. (17 มี.ค. 2566). การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากชุมชน ศึกษาเฉพาะกรณีผ้าทอโบราณนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง. (ศุภสิน วัตตพรหม, ผู้สัมภาษณ์)