การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยอุปกรณ์สายรัดข้อมืออัจฉริยะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีดำเนินการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยอุปกรณ์สายรัดข้อมืออัจฉริยะ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้ระบบการดูแลสุขภาพฯ 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบการดูแลสุขภาพฯ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ผู้สูงอายุจำนวน 89 คน และ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 89 คน โดยวิธีการอาสาสมัคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความต้องการของผู้ใช้ระบบ 2) แบบตรวจสอบคุณภาพระบบ 3) คู่มือการใช้ระบบ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ 5) แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบ ทั้งนี้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยทั้งหมด ผ่านการตรวจสอบค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหา และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.86 ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยอุปกรณ์สายรัดข้อมืออัจฉริยะ ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ 1.1) ความต้องการ โดยภาพรวมมีความต้องการมากที่สุด ( = 4.66, S.D. = .34) 1.2) การออกแบบ ใช้รูปแบบของแผนภาพข้อมูลระดับสูงสุด เป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างของเขตของระบบ และ 1.3) การตรวจสอบคุณภาพ โดยภาพรวมมีระดับคุณภาพมากที่สุด (
= 4.63, S.D. = .35) 2) การศึกษาผลใช้ระบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยอุปกรณ์สายรัดข้อมืออัจฉริยะ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.56, S.D. = .44) 3) การประเมินประสิทธิภาพของผู้สูงอายุด้วยอุปกรณ์สายรัดข้อมืออัจฉริยะ โดยภาพรวม มีประสิทธิภาพมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.54, S.D. = .43)
Article Details
References
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ปรัสรา จักรแก้ว. (2556). รูปแบบการสื่อสารกับระบบอัตโนมัติผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบทั่วไปที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุในประเทศไทย. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ปุรินทร์ ศรีศศลักษณ์. (2563). นวัตกรรมในการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 9(2), 47-54.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2566). ภาวะสังคมผู้สูงอายุ. เรียกใช้เมื่อ 16 มกราคม 2566 จาก https://www.redcross.or.th/th/knowledge/aging-society
วรางคณา บุตรศรี. (2563). ปัจจัยทำนายการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะของผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 17(1), 256-266.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Best, J. W. & Kahn, J. V. (1993). Research in Education. (7th ed.). Boston: Allyn and Bacon.
International Institute for Sustainable Development. (2021). 2021 Population Data Sheet Highlights Declining Fertility Rates. Retrieved March 15, 2021, from https://sdg.iisd.org/news/2021-population-data-sheet-highlights-declining-fertility-rates/Mercular.
Mercular. (2021). Smart wristbands for health monitoring: A daily assistant for tracking steps, distance, calories burned, and sleep patterns. Retrieved April 15, 2022, from https://www.mercular.com/review-article/huawei-band-6-review
Smith, J. et al. (2023). CARE: Context-awareness for elderly care. Health and Technology, 17(2), 115-125.
World Health Organization. (2020). Definition of an older or elderly person. Retrieved April 15, 2022, from http://www.who.int/healthinfo/survey/ageingdefnolder/en/WaldmanandAvolio