ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาถึงระดับความสำคัญของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้ระบบขนส่งสาธารณะในเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก และ 2) ศึกษาถึงระดับอิทธิพลของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้ระบบขนส่งสาธารณะในเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก ประชากรในการวิจัย คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ใน 3 จังหวัดเป้าหมายในเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ได้แก่ ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา วิธีการสุ่มตัวอย่างใช้แบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก จำนวน 400 คน จากนั้นใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปจะใช้การแจกแจงความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ลักษณะการใช้บริการขนส่งสาธารณะ จะใช้การวิเคราะห์ด้วยการหาค่าเฉลี่ย (Mean = ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation = S.D.) ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลระดับอิทธิพลของแต่ละปัจจัยที่ส่งผลการตัดสินใจใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะในเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก จะใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านยานพาหนะ ด้านพฤติกรรมพนักงานขับรถ ด้านการบริการ และด้านราคา พบว่า ปัจจัยด้านพฤติกรรมพนักงานขับรถมีระดับความสำคัญสูงสุด และทุกปัจจัยมีระดับอิทธิพลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกในการใช้ระบบขนส่งสาธารณะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับปัจจัยด้านพนักงานขับรถเป็นปัจจัยที่มีระดับความสำคัญสูงที่สุด ดังนั้น ควรให้ความสำคัญโดยการเลือกพนักงานที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
Article Details
References
กรมการปกครอง. (2566). จำนวนประชากรแยกตามรายจังหวัด. เรียกใช้เมื่อ 22 มกราคม 2567 จาก https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByYear.php
ณัชชา โอเจริญ. (2560). อุบัติเหตุทางถนนความเสียหายร้ายแรงต่อเศรษฐกิจไทย. เรียกใช้เมื่อ 20 พฤษภาคม 2564 จาก https://tdri.or.th/2017/08/econ_traffic_accidents/
นพวรรณ เตชสนีย์. (2561). ผู้หญิงที่ใช้ขนส่งสาธารณะ 45% ถูกคุกคามทางเพศ. เรียกใช้เมื่อ 18 มีนาคม 2565 จาก https://www.thebangkokinsight.com/news/business/economics/66968/
วรภัทร พึ่งพงศ์. (2564). ภัยร้ายในพื้นที่สาธารณะ: หนทางการแก้ไขปัญหาการคุกคามทางเพศกับการตกเป็นเหยื่อของผู้หญิงบนรถโดยสารประจำทางในกรุงเทพมหานคร. วารสารการเมือง การบริหารและกฎหมาย, 11(3), 411-464.
วรัมพร ศรีเนตร และภาชญา เชี่ยวชาญ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกรับบริการการเดินทางด้วยรถตู้โดยสารประจำทางสายภาคตะวันออก. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2 คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2564). แผนปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2566 - 2570. เรียกใช้เมื่อ 16 มีนาคม 2565 จาก https://www.thailand.go.th/issue-focus-detail/006_056?hl=th
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). หนี้สินครัวเรือน ผลกระทบระดับประเทศ. เรียกใช้เมื่อ 16 มีนาคม 2565 จาก https://www.smartsme.co.th/content/100538
Ainiyah, N. et al. (2016). The classical assumption test to driving factors of land cover change in the development region of northern part of west Java. The International Archives of the Photogrammetry, Remote Sensing and Spatial Information Sciences. Retrieved September 5, 2022, from https://doi.org/10.5194/isprs-archives-XLI-B6-205-2016
Chensiripon, A. (2017). The Factors Affecting Customer Satisfaction with The North Eastern Line Bus Service (Research Report). Bangkok: Thammasat University.
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika Journal, 16(3), 297-334.
Jiraporn, S. et al. (2022). Attitude and Satisfaction of Passenger Van Users (Chatuchak). Journal of Legal Entity Management and Local Innovation, 8(5), 151-162.
Keawprasom, P. (2019). Factors Affecting the People’s Safeness in Using Public Bus of Chumporn Bus Terminal. Research Report: Rajabhat Maha Sarakham University.
Sarawut, D. (2021). The Satisfaction of Users of The Bangkok Mass Transit Authority Zone 2. Rajapark Journal, 15(39), 149-160.
Simmonds, P. (2017). Linear Regression Analysis Primary Agreement’s Test. Journal of Research and Curriculum Development, 7(2), 24-25.
Suangka, K. (2015). Factors Affecting Elderly’s Decisions to Use Public Transportation: The Application of Structural Equation Model. Srinakharinwirot University Journal of Science and Technology, 7(14), 129-142.
Subundit, C. et al. (2022). “Motorcycle taxi” about connecting social desires. Journal of MCU Social Development, 7(1), 359-371.
Thippayakraisorn, S. (2011). How did Thailand Develop the Public Transportation Systems? Executive Journal, 31(4), 55-58.
Uttajarern, Y. (2021). Management Model for Reducing Accidents from Road Freight. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 6(6), 404-417.
Viroj, J. & Parinyanan, C. (2018). Quality of public bus service for the elderly in Bangkok. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(1), 3091-3104.
Wichai, J. (2019). The Behavior of Small Vehicles Drivers on Huathanonsanamkila Road Nakohon Si Thammarat Province. Journal of Mongkut Thaksin, 1(1), 1-19.
Wongwilai, S. et al. (2019). A Study demand of public transportation in Buddha-Monthon district, Nakorn Patom province. Academic Journal Bangkokthonburi University, 8(1), 11-119.
Yamane, T. (1967). Elementary Sampling Theory. Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice Hall.
Zheng, L. et al. (2022). Analysis of the accident propensity of Chinese bus drivers: the influence of poor driving records and demographic factors. Mathematical Journal, 10(22), 43-54.