ผลการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้วยการทดลองวิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหารการกิน เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

กัญญาณี พิทักษ์
จุไรศิริ ชูรักษ์
มนตรี เด่นดวง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยระหว่างการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้วยการทดลองวิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหารการกิน 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐาน
ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้วยการทดลองวิทยาศาสตร์
3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้วยการทดลองวิทยาศาสตร์กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนวัดเขาลำปะ
ปีการศึกษา 2566 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้วยการทดลอง วิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหารการกิน แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และแบบประเมิน
ความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบสถิติด้วย
วิลคอกซัน (Wilcoxon) และการทดสอบค่า Binomial test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยระหว่างการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้วยการทดลองวิทยาศาสตร์ โดยภาพรวมมีแนวโน้มสูงขึ้น 2) ผลการศึกษาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร
สูงกว่าก่อนจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการศึกษาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01 และ 4) ผลการศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยต่อการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้วยการทดลองวิทยาศาสตร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
พิทักษ์ ก., ชูรักษ์ จ., & เด่นดวง ม. (2024). ผลการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้วยการทดลองวิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหารการกิน เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(11), 75–85. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/276989
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา ปุ้งโพธิ์. (2556). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านเขวา (ราษฎร์พัฒนา) โดยใช้ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์. ศรีสะเกษ: โรงเรียนบ้านเขวา (ราษฎร์พัฒนา).

ชุลีพร สงวนศรี. (2550). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาเด็กปฐมวัยกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์คณะครุศาสตร์. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ซุรีญานี เจ๊ะแม. (2562). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ชุดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 3(8), 41-54.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธันย์ธนัทชนม์ ธนะหมอก. (2553). รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการสังเกตและทักษะการสื่อความหมายของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2. เชียงราย: โรงเรียนบ้านเกี๋ยง “คุรุราษฎร์วิทยา”.

ปิยนุช แข็งกสิการ และคณะ. (2561). ผลการจัดประสบการณ์แบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อทักษะการสังเกตและทักษะจำแนกประเภทของเด็กปฐมวัย. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(1), 155-135.

พรพิไล เลิศวิชา. (2550). สมองวัยเริ่มเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิทยาการเรียนรู้.

พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์. (2548). วิธีวิทยาการสอนวิทยาศาสตร์ทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

สมปอง ราศี. (2558). การพัฒนากิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านวังกวาง. วารสารวิชาการ เครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 5(ฉบับพิเศษ) 53-68.

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2553). การศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลับราชภัฎสวนดุสิต.