การพัฒนาคุณภาพชีวิตวิถีพุทธเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์คุณภาพชีวิตวิถีพุทธเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ของผู้สูงอายุ 2) พัฒนาคุณภาพชีวิตวิถีพุทธเพื่อรองรับผู้สูงอายุภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ของผู้สูงอายุ และ 3)สร้างภาคีเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพชีวิตวิถีพุทธเพื่อรองรับผู้สูงอายุภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 25 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองมีผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ และเชิงปฏิบัติการประชากรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 ราย ใช้แบบสังเกตการณ์แบบไม่เป็นทางการ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลวิจัยพบว่า 1) คุณภาพชีวิตวิถีพุทธเพื่อรองรับผู้สูงอายุ มีการปรับเปลี่ยนทัศนคติในการที่จะเป็นผู้สูงวัยในอนาคต เตรียมตัวเรียนรู้การใช้ชีวิต ช่วยเหลือตนเองและพึ่งพาตนเองได้ เรียนรู้เทคโนโลยีและเชื่อมั่นในการดำเนินชีวิต เรียนรู้หลักไตรลักษณ์เพื่อเข้าใจสรรพสิ่ง มีกิจกรรมร่วมกันในชุมชน 2) การพัฒนาคุณภาพชีวิตวิถีพุทธเพื่อรองรับผู้สูงอายุซึ่งอยู่ในวัยพึ่งพิง โรงเรียนผู้สูงอายุจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะนำมาพัฒนาทั้งสุขภาพกายจิตใจ กิจกรรมการไหว้พระสวดมนต์นั่งสมาธิและกิจกรรมอื่น ๆ ต้องมีความเหมาะสม 3) เครือข่ายที่ได้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตวิถีพุทธต่อการรองรับผู้สูงอายุมี 3 เครือข่าย สร้างจุดแข็งให้เครือข่ายผู้สูงอายุมีความเข้มแข็ง คือ 3.1) ภาครัฐ จะวางแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิต 3.2) ภาคเอกชน จะสนับสนุนในการศึกษาดูงานการจัดกิจกรรม ทั้งด้านเงินสมทบทุน บุคลากร และ 3.3) ภาคประชาชน มีบทบาทในการเข้าร่วมกิจกรรมที่ภาครัฐจัดขึ้นและมีความเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุทั้ง 4 ด้านคือ ร่างกาย จิตใจ ความสัมพันธ์ในสังคมและสิ่งแวดล้อม
Article Details
References
กรเกล้า รัตนชาญกร และคณะ. (2566). การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน, 10(1), 85-97.
กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2561). ยุทธศาสตร์กรมกิจการผู้สูงอายุ 20 ปี พ.ศ. 2561 - 2580. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สามลดา.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ก้าวย่างของประเทศไทยสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบ. เรียกใช้เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2564 จาก https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30476
กองส่งเสริมสวัสดิการและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ. (2562). กรมกิจการผู้สูงอายแนวทางการดำเนินงานธนาคารเวลาแห่งประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
จิรายุ สุวรรณะ และคณะ. (2566). สังคมผู้สูงอายุกับวิถีพุทธ: การเดินทางแห่งปัญญาและความเมตตา. Journal of Spatial Development and Policy, 1(3), 67-76.
ชะอ้อน อุบลสุวรรณ. (23 ส.ค. 2566). การพัฒนาคุณภาพชีวิตวิถีพุทธเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา. (วนิดา เหมือนจันทร์, ผู้สัมภาษณ์)
เซียมน้อย อโณทัยไพบูลย์. (2566). การพัฒนาผู้สูงอายุและสิทธิผู้สูงอายุที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในอําเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(9), 281-293.
ทวีมนัย อัชโชน. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลคำเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสังคมศาสตร์สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามท้องถิ่น, 7(1), 12-21.
นำไท อุไรรัตน์. (28 ส.ค. 2566). การพัฒนาคุณภาพชีวิตวิถีพุทธเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา. (วนิดา เหมือนจันทร์, ผู้สัมภาษณ์)
นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2566). ผลสัมฤทธิ์ของการนำนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อความเสมอภาคของผู้สูงอายุไปปฏิบัติในจังหวัดขอนแก่น. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 11(3), 260-269.
ประพัตร เรืองสวัสดิ์. (1 ส.ค. 2566). การพัฒนาคุณภาพชีวิตวิถีพุทธเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา. (วนิดา เหมือนจันทร์, ผู้สัมภาษณ์)
ปัณณธร เธียรชัยพฤกษ์ และคณะ. (2566). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จังหวัดราชบุรี. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 8(4), 264-274.
พงพันธ์ สุทธิยาภรณ์. (24 ส.ค. 2566). การพัฒนาคุณภาพชีวิตวิถีพุทธเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา. (วนิดา เหมือนจันทร์, ผู้สัมภาษณ์)
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2550). รุ่งอรุณการศึกษาเบิกฟ้าแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.
พระวีระพงษ์ วิชฺชาธโร และคณะ. (2564). การประยุกต์หลักพุทธธรรมในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ ตำบลผักตบ อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 8(1), 63-73.
พระสมุห์สุรินทร์ รตนโชโต และพระศักดิ์จรินทร์ ฐิตสํวโร. (2566). บทบาทวัดกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในสังคมไทยตามแนวพระพุทธศาสนา. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 6(5), 171-184.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บริษัท นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด.
โรงพยาบาลบางประกอก 3. (2566). 11 อ. เพื่อสุขภาพกายใจที่ดีของผู้สูงอายุ. เรียกใช้เมื่อ 17 มีนาคม 2567 จาก https://www.bangpakok3.com/care_blog/view/296
วราภรณ์ พงศ์เศรษฐกุล. (3 ส.ค. 2566). การพัฒนาคุณภาพชีวิตวิถีพุทธเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา. (วนิดา เหมือนจันทร์, ผู้สัมภาษณ์)
วีนัส ธรรมสาโรรัชต์. (2566). การพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบองค์รวมตามหลักภาวนา 4 ของผู้สูงอายุในยุคชีวิตวิถีใหม่. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 6(3), 77-89.
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580). เรียกใช้เมื่อ 2 กันยายน 2567 จาก https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF
สุชาดา พันธางกูร. (3 ส.ค. 2566). การพัฒนาคุณภาพชีวิตวิถีพุทธเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา. (วนิดา เหมือนจันทร์, ผู้สัมภาษณ์)
สุชีพ แก้วคงบุญ. (4 ม.ค. 2567). การพัฒนาคุณภาพชีวิตวิถีพุทธเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา. (วนิดา เหมือนจันทร์, ผู้สัมภาษณ์)
เสียบ อุษาแสงทอง. (3 ส.ค. 2566). การพัฒนาคุณภาพชีวิตวิถีพุทธเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา. (วนิดา เหมือนจันทร์, ผู้สัมภาษณ์)
อภิชาติ สานุสันติ์ และคณะ. (2566). การพัฒนากระบวนการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลสำโรงพลัน อําเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 9(3), 19-32.
Salika.co. (2564). 13 หมุดหมายพลิกโฉมประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 27 มีนาคม 2565 จาก https://www.salika.co/2021/03/24/13-goals-transforming-thailand-economy/