การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ของครูโรงเรียนมกุฎเมืองราชวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง

Main Article Content

มณฑาทิพย์ เสาวคนธ์
เชาวฤทธิ์ จงเกษกรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู 2) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู 3) ใช้รูปแบบฯ และ 4) ประเมินรูปแบบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู ใช้การวิธีวิจัยแบบผสมวิธี โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารจัดการชุมชนแห่ง
การเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารและครูโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพและด้านนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ จำนวน 30 คน
2) การสร้างรูปแบบฯ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 13 คน 3) การใช้รูปแบบฯ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครู จำนวน 77 คน และ 4) การประเมินรูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 341 คน ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของยามาเน่ ที่ระดับความน่าเชื่อถือร้อยละ 95 เครื่องมือ ได้แก่ แบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1) องค์ประกอบและแนวทางของรูปแบบการฯ มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การบริหารตามวงจรการบริหารคุณภาพ PDCA รูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กระบวนการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ทักษะการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ของครู 2) ผลการสร้างรูปแบบมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ครูมีทักษะในการพัฒนานวัตกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
เสาวคนธ์ ม., & จงเกษกรณ์ เ. (2024). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ของครูโรงเรียนมกุฎเมืองราชวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(11), 62–74. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/277232
บท
บทความวิจัย

References

จุรีวรรณ จันพลา. (2559). การเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้ประกอบการในธุรกิจแปรรูปอาหาร. วารสารระบบเทคโนโลยีและภาคใต้, 9(1), 53-57.

ปองทิพย์ เทพอารีย์. (2557). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพสำหรับครูประถมศึกษา. ใน ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรัชยา ประจำ. (2563). การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนในโรงเรียนคุณธรรม. สพฐ. โรงเรียนอนุบาลห้วยทับทัน โดยใช้ CIPPA Model. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 15(3), 102-123.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2559). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. ใน สารานุกรมการศึกษาร่วมสมัย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558, (หน้า 334-338). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวาน กราฟฟิค.

สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือประกอบการอบรมการขับเคลื่อนกระบวนการ “ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” สู่สถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สุธิภรณ์ ขนอม. (2559). รูปแบบการบริหารชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาความสามารถในการสอนภาษาไทยของครูในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อำนาท เหลือน้อย. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมาตรฐานสากล. ใน ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

Australian National Training Authority (ANTA). (2001). Innovation: Ideas That Work for Trainers of Innovation at Work Skills. Brisbane: Australian National Training Authority.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper and Row Publications.