การบริหารความเสี่ยงในชุมชนและแนวทางการจัดการตนเองในภาวะวิกฤต กรณีศึกษาชุมชนบ้านสาลวัน จังหวัดนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวบรวมข้อมูลบริบทของชุมชน และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในชุมชนบ้านสาลวัน 2) นำความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในชุมชนมาเข้ากระบวนการจัดการความเสี่ยงในชุมชน และ 3) จัดทำแนวทางการจัดการตนเองในภาวะวิกฤต ที่เกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งดำเนินการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยนำผลการศึกษาเชิงปริมาณ มาสนับสนุนผลการศึกษาเชิงคุณภาพเข้าด้วยกัน โดยมีวิธีการศึกษาข้อมูลโดยการลงพื้นที่สำรวจอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จาก 13 ชุมชน ที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนบ้านสาลวัน จำนวนประชากร 94 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบสุ่มแบบบังเอิญ ชุมชนละ 6 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 78 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกความคิดเห็น แบบฟอร์มตารางการบริหารความเสี่ยง และแบบสอบถาม เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) บริบทของชุมชนมีการขยายแหล่งที่อยู่อาศัย และเส้นทางการคมนาคมเพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนเมือง 2) นำความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในชุมชนมาแบ่งความเสี่ยงออกเป็น 2 ด้าน คือ ความเสี่ยงด้านสุขภาพและด้านความปลอดภัย แล้วนำปัจจัยเสี่ยงที่มีระดับสูงที่สุดไปหาแนวทางแก้ไขจัดการความเสี่ยงของชุมชนได้ และ 3) รวบรวมข้อมูลจัดทำเป็นคู่มือการบริหารความเสี่ยงชุมชน แสดงข้อมูลพื้นฐานในชุมชน กระบวนการบริหารความเสี่ยง และแนวทางการจัดการตนเองในภาวะวิกฤตเป็นแผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินในชุมชน มีความพึงพอใจการจัดกิจกรรมในชุมชนภาพรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 คิดเป็นร้อยละ 85.29 อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
จิตติมา แพ่งโยธา. (2559). การจัดการความเสี่ยงกับการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน. PULINET Journal ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค, 3(2), 116-119.
จินตนา อมรสงวนสิน. (2562). ความเสี่ยงด้านสุขภาพของชุมชนจากการตกค้างของสารเคมีทางการเกษตรในนาข้าว จังหวัดชัยนาท. วารสารพัฒนาสังคม, 21(1), 115-128.
ชุติกร ปรุงเกียรติ และคณะ. (2558). การพัฒนาแนวทางการบริหารความเสี่ยงในวิสาหกิจชุมชนจังหวัดสุรินทร์. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์.
ณภัทร จินเดหวา. (2562). การศึกษาแนวทางการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยสำหรับผู้นำท้องที่ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ. (2554). การบริหารความเสี่ยงครัวเรือน. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 31(1), 15-23.
นัฐศิพร แสงเยือน และศนิ ลิ้มทองสกุล. (2564). ความสามารถในการปรับตัวของชุมชนชานเมืองมหานครต่อความเสี่ยงของอุทกภัยในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการการออกแบบสภาพแวดล้อม, 8(2), 75-98.
ประกาศ เรื่อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). (2565). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 258 ง หน้า 3 (24 ตุลาคม 2565).
ประสงค์ รัศมียูงทอง และคณะ. (2566). การพัฒนารูปแบบการจัดการเครือข่ายชุมชนเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมด้านการสื่อสารความเสี่ยงสุขภาพของชุมชนรอยต่อชายขอบจังหวัดสระบุรี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 38(1), 187-199.
พิศุทธิ์ อังคะนาวิน. (2557). การประเมินความเสี่ยงด้านสาธารณภัย โดยชุมชน กรณีศึกษาเทศบาลเมืองลัดหลวงอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 8(16), 67-77.
รักขณา สิงห์เทพ และคณะ. (2561). การจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพประชากรวัยทำงานด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 12(3), 129-141.
รัฐพล อ้นแฉ่ง. (2558). ความเป็นเมืองของจังหวัดนครปฐมและพื้นที่ใกล้เคียง. เรียกใช้เมื่อ 4 ตุลาคม 2566 จาก https://www.slideshare.net/slideshow/ss-44422266/44422266
สมศรี เสนาพันธุ์ และศิริเพ็ญ สิทธิบรรณ์. (2561). แนวทางการจัดการตนเองเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานของชุมชนบ้านปากทอน อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11, 32(1), 805-812.
สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2566). ประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่อง ผลการคัดเลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีการบริหารจัดการที่ดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. เรียกใช้เมื่อ 4 ตุลาคม 2566 จาก https://drive.google.com/file/d/15LqOiZNf9LUEAtkLbbvJr1BwR-LkL43a/view
แอนนา พายุพัด และคณะ. (2565). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการประเมินความเสี่ยงของวิสาหกิจชุมชน ในพื้นที่ฝั่งธนบุรี ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อรองรับการเข้าสู่ AEC. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 4(2), 47-66.
Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis (2nd ed.). New York: Harper & Row.