การพัฒนาตลาดน้ำเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ในจังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ความรู้การพัฒนาตลาดน้ำ
ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ 2) เพื่อพัฒนาตลาดน้ำในการส่งเสริมการท่องเที่ยว
โดยชุมชนภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ในจังหวัดสงขลา และ 3) เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายการพัฒนาตลาดน้ำในการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ในจังหวัดสงขลา โดยผู้วิจัยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 25 คน ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มผู้บริหารตลาดน้ำ 4 คน ผู้นำท้องถิ่น 5 คน นักท่องเที่ยว 4 คน ผู้บริโภค 5 คน พ่อค้า-แม่ค้า 5 คน และนักวิชาการด้านการตลาด 2 คน กลุ่มเป้าหมายในการปฏิบัติการวิจัยประกอบด้วยผู้บริหารตลาดน้ำ 3 คน นักท่องเที่ยว 5 คน พ่อค้า-แม่ค้า 10 คน ผู้บริโภค 10 คน และประชาชนทั่วไป 2 คน รวมทั้งหมด 30 คน วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) โดยคัดเลือกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตลาดน้ำและการท่องเที่ยวชุมชน ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาตลาดน้ำคลองแหในจังหวัดสงขลา เป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจของชุมชนหลังการระบาดของโควิด-19 โดยการรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม การส่งเสริมการท่องเที่ยว และการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในชุมชน ได้แก่ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การขยายถนน การจัดการ
ที่จอดรถ การพัฒนาคลองให้สะอาด และเพิ่มความปลอดภัยในตลาด นอกจากนี้ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวยังช่วยเพิ่มจุดดึงดูดให้กับนักท่องเที่ยว การสร้างเครือข่ายระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนเป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาตลาดน้ำอย่างยั่งยืน เช่น การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชนและสื่อสังคมออนไลน์ในการดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยว รวมทั้งสร้างการรับรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดน้ำ โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน
Article Details
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารสุข. (2563). โควิด-19: COVID-Free Setting มาตรการเชิงบังคับรับคลายล็อก 1 ต.ค. กับแผนกระตุ้นให้ฉีดวัคซีน. เรียกใช้เมื่อ 30 พฤศจิกายน 2565 จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-58719544
คะนอง เขียวรัตนา. (2566). การพัฒนาชุมชนในยุคดิจิทัล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ วิทยาการ.
ทวีศักดิ์ ตรีเลิศ. (2 พ.ย. 2566). ผู้ซื้อสินค้าในพัฒนาตลาดน้ำ. (ประสิทธิ์ รักนุ้ย, ผู้สัมภาษณ์)
นวันวัจน์ แข่งขัน. (2567). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชน Otop นวัตวิถี บ้านสระยายชี ตำบลเนินปออำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร. วารสารมจรเพชรบุรีปริทรรศน์, 7(2), 97-109.
พิมภัสสร เด็ดขาด และคณะ. (2567). การพัฒนารูปแบบตลาดวัฒนธรรมท้องถิ่นผ่านกลไกรัฐและประชาสังคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารพุทธจิตวิทยา, 9(1), 86-98.
ระรื่น สาสุธรรม. (2567). นวัตกรรมแห่งการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์การศึกษาไทย.
สมโพช นันทวงศ์. (2567). การบริหารงานองค์กรหน่วยงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ นวัตกรรมการจัดการ.
อนุวัฒน์ ชมภูปัญญา และคณะ. (2567). แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. Journal of Modern Learning Development, 9(7), 629-643.
อเนก ณ เชียงใหม่. (2567). กลไกการจัดการท่องเที่ยวตลาดน้ำห้วยสุครีพแบบมีส่วนร่วมตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 7(5), 58-72.
อภิเดช ช่างชัย และคณะ. (2567). การยืนหยัดตั้งรับและปรับตัวของชุมชนตลาดริมน้ำท่าจีน. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 7(2), 97-109.
อักษร บุตรโคตร. (2567). มนุษย์ในยุคใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์บัณฑิตวิทยาลัย.