การสื่อสาร และการรับรู้ในการบังคับใช้กฎหมายห้ามใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนผสม ของสารเคมีอันตรายต่อปะการัง: กรณีศึกษา เกาะสมุย ประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายห้ามใช้ครีมกันแดดที่มีสารเคมีอันตรายต่อแนวปะการังในเขตอุทยานแห่งชาติ 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพการสื่อสารที่ใช้ในการส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมายฯ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการสื่อสารที่ยั่งยืนในการส่งเสริมการใช้ครีมกันแดดที่ปลอดภัยต่อระบบนิเวศทางทะเลของเกาะสมุย โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้าง และการสัมภาษณ์เชิงลึก กับกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 5 กลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ไควสแควร์ การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ และหน่วยงานภาครัฐ มีการรับรู้การปฏิบัติตามกฎหมายและความเข้าใจในเจตนารมณ์ของประกาศกรมอุทยานแห่งชาติฯ ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าไควสแควร์เท่ากับ 26.738 ปัจจัยทางสังคมที่ร่วมสื่อสาร และปัจจัยส่วนบุคคคลด้านทัศนคติ เป็นตัวแปรที่สามารถพยากรณ์การรับรู้ การปฏิบัติตามกฎหมายและความเข้าใจในเจตนารมณ์ของประกาศฉบับนี้ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ 0.683 และ 0.322 ตามลำดับ และมีอำนาจในการพยากรณ์เท่ากับ 0.94 ผลการประเมินประสิทธิภาพสื่อสาร พบว่า ช่องทางการรับทราบข้อมูลข่าวสารมีความต้องการเป็นไปในทิศทางเดียวกันในทุกกลุ่มตัวอย่างโดยมีค่าเฉลี่ยในช่องทางการประชาสัมพันธ์ออนไลน์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด มีค่า 4.23 - 4.55 และการสื่อสารควรใช้ช่องทางสื่อสารออนไลน์ การจัดทำรูปแบบโลโก้ และ สื่อประชาสัมพันธ์อื่น ๆ ที่หลากหลาย เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ทราบเกี่ยวกับกฎหมายและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับระบบ สิิ่งแวดล้อมทางทะเล
Article Details
References
ดามร คำไตรย์ และคณะ. (2551). ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม กรณีมลภาวะทางอากาศ ศึกษาในเขตพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
เทศบาลนครเกาะสมุย. (2565). รายงานจำนวนประชากรในเขตเทศบาลเกาะสมุย. เรียกใช้เมื่อ 14 กันยายน 2567 จาก https://www.kohsamuicity.go.th/content/general
นรากร นันทไตรภพ. (2563). ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, ร้อยเรื่องเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิชาการสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา.
ประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2564). เรื่อง ห้ามนำและใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนประกอบของสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการังไปใช้ในอุทยานแห่งชาติ. ราชกิจจนุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 175 ง หน้า 1 (3 สิงหาคม 2564).
ศุภณัฐ ชัยสวัสดิ์. (2555). มาตรการในการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมทางน้ำ. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งและป่าชายเลน. (2557). รายงานการสำรวจและประเมินถานภาพและศักยภาพทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง : ปะการังและหญ้าทะเล ปี 2557. เรียกใช้เมื่อ 14 กันยายน 2567 จาก https://www.dmcr.go.th/detailLib/1812
สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2555). แนวทางเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด (สำหรับประชาชน). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
Alonso, B. M. et al. (2015). Toxic heritage: Maternal transfer of pyrethroid insecticides and sunscreen agents in dolphins from Brazil. Environmental Pollution, 207(2), 391-402.
Balmer, E. M. et al. (2005). Occurrence of Some Organic UV Filters in Wastewater, in Surface Water, and in Fish from Swiss Lakes. Environmental Science & Technology, 39(4), 953-962.
Blüthgen, N. et al. (2012). A quantitative index of land-use intensity in grasslands: Integrating mowing, grazing and fertilization. Basic and Applied Ecology, 13(3), 207-220.
Bratkovics, S. et al. (2015). Baseline monitoring of organic sunscreen compounds along South Carolina’s coastal marine environment. Marine Pollution Bulletin, 110(15), 370-377.
Cosnefroy, A. et al. (2012). Selective Activation of Zebrafish Estrogen Receptor subtypes by Chemicals by Using Stable Reporter Gene Assay Developed in a Zebrafish Liver Cell Line. Toxicological Sciences, 125(2), 439-449.
Downs, C. A. et al. (2014). Toxicological effects of the sunscreen UV filter, benzophenone-2, on planulae and in vitro cells of the coral, Stylophorum pistillata. Ecotoxicology,, 23(2), 175-191.
Downs, C. A. et al. (2022). Beach showers as sources of contamination for sunscreenpollution in marine protected areas and areas of intensive beach tourism in Hawaii, USA. Journal of Hazardous Materials, 438(15), 1-41.
Kunz, P. Y. & Fent, K. (2006). Multiple hormonal activities of UV filters and comparison of in vivo and in vitro estrogenic activity of ethyl-4-aninovenzoate in fish. Aquatic Toxicology, 79(4), 305-324.
Levine, A. (2020). Sunscreen use and awareness of chemical toxicity among beach goers in Hawaii prior to a ban on the sale of sunscreens containing ingredients found to be toxic to coral reef ecosystems. Marine Policy, 117(103875), 1-7.
Manasfi, T. et al. (2017). Degradation of Organic UV filters in Chlorinated Seawater Swimming Pools: Transformation Pathways and Bromoform Formation. Environmental Science & Technology,, 51(23), 13580-13591.
Reyes-Coronado, D. et al. (2008). Phase-pure TiO2 nanoparticles: anatase, brookite and rutile. Nanotechnology, 19(14), 1-4.
Santos, A. C. et al. (2022). Nanotechnology-based sunscreens-a review. Materials Today Chemistry, 23(100709), 1-10.
Schneider, S. L. & Lim, H. W. (2019). Review of environmental effects of oxyvenzone and other sunscreen active ingredients. Review of environmental effects of oxyvenzone and other sunscreen active ingredients, 80(1), 266-271.
Serpone, N. (2021). Sunscreens and their usefulness: have we made any progress in The last two decades? Photochemical & Photobiological Sciences, 20(2), 189-244.
Yamane, T. (1973). Statistics an introductory analysis. New York: Harper & Row.