ความขัดแย้งทางการเมืองที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา

Main Article Content

ทวีศักดิ์ ใครบุตร
อาทิตย์ แสงเฉวก
สุขพัฒน์ อนนท์จารย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง วิเคราะห์ความขัดแย้งและ
การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา สังเคราะห์และบูรณาการการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางสังคมการเมืองไทยตามหลักทางพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 28 ท่าน ได้แก่ 1) นักวิชาการ
ด้านรัฐศาสตร์ และ 2) นักวิชาการด้านพุทธศาสนา เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง
เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง เกิดจากผู้มีอำนาจรัฐ นักการเมืองและประชาชนมีแนวคิดต่างกัน ไม่มีความเท่าเทียม ผลประโยชน์ ความต้องการ และความต่างกันด้านค่านิยม ผลการวิเคราะห์ความขัดแย้งและการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ได้แก่ อปริหานิยธรรม พรหมวิหารและสาราณียธรรม เพื่อลดความโกรธ ความเกลียดชัง พัฒนาจิตใจให้มีความเข้าใจและมีความปรารถนาดี เช่น เมตตา ทำให้เกิดการยอมรับและเข้าใจ กรุณา เข้าใจความทุกข์ผู้อื่น พยายามช่วยเหลือให้พ้นทุกข์ สร้างความสัมพันธ์ที่ดี อุเบกขา ความมีใจเป็นกลาง ช่วยให้ตัดสินใจอย่างเป็นธรรม สังเคราะห์และบูรณาการการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางสังคมการเมืองไทยตามหลักทางพระพุทธศาสนาด้วยหลักทฤษฎี โดยใช้หลักอปริหานิยธรรม ตอบสนองความต้องการของ
ทุกฝ่าย สังเคราะห์หลักสาราณียธรรม มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน สังเคราะห์หลักพรหมวิหารในการแก้ไขความขัดแย้ง เกิดความยุติธรรมและโปร่งใส ผสมผสานแนวคิดที่ช่วยในการสร้างสภาพแวดล้อมที่มีความเข้าใจ มีความร่วมมือและความยุติธรรมในการแก้ไขความขัดแย้งอย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
ใครบุตร ท., แสงเฉวก อ., & อนนท์จารย์ ส. (2024). ความขัดแย้งทางการเมืองที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(11), 1–12. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/277772
บท
บทความวิจัย

References

กุญชรี ค้าขาย. (2550). การบริหารความขัดแย้ง. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

ประสิทธิ์ กุลบุญญา. (2557). ความขัดแย้งและการจัดการความขัดแย้งตามหลักพระพุทธศาสนา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1), 18-40.

พงศ์เพ็ญ ศกุนตาภัย. (2545). หลักรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ ประชาชน.

พระครูปริยัติสาทร และคณะ. (2565). แนวคิดเรื่องประชาธิปไตยในพระไตรปิฎก. วารสารมานุษยวิทยาพุทธศาสนา, 7(7), 197-207.

พระเทพเวที (ป.อ.ปยุตฺโต). (2532). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมกิตติเมธี (เกษม สญฺญโต). (2561). พุทธวิธีบริหารความขัดแย้ง. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

พระมหาบุญเลิศ อนฺทปญฺโญ. (2563). แนวคิดรัฐศาสตร์เชิงวัฒนธรรม. นนทบุรี: นิติธรรมการพิมพ์.

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2554). พุทธสันติวิธีการบูรณาการหลักการและเครื่องมือจัดการความขัดแย้ง. กรุงเทพมหานคร: 21 เซ็นจูรี่.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมิต สัชฌุกร. (2553). เทคนิคการประสานงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

สัณฐาน ชยนนท์. (2565). รูปแบบภาวะผู้นำทางการเมืองเชิงพุทธเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2564). กลยุทธ์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

Bogdan, R. C. & Biklen, S. K. (2003). Qualitative Research of Education: An Introductive to Theories and Methods. (4th ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Mcmillan, J. et al. (1997). Research in Education. The United Statesof America: Addison-Wesley Educational Publishers Inc.