การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 3) เพื่อทดลองใช้หลักสูตรฝึก อบรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และ 4) เพื่อประเมินหลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 จำนวน 117 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ ได้แก่ แบบบันทึก แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน แบบทดสอบ แบบวัดเจตคติ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ควรเน้นความรู้ ความเข้าใจ ทักษะการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และการวัดประเมินผล โดยมีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง 2) ผลการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มี 8 องค์ประกอบ คือ 2.1) หลักการของหลักสูตร 2.2) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 2.3) โครงสร้างเนื้อหาหลักสูตรฝึกอบรม 2.4) เป้าหมายของหลักสูตรฝึกอบรม
2.5) กิจกรรมการฝึกอบรม 2.6) สื่อและแหล่งเรียนรู้ 2.7) การวัดและประเมินผล และ 2.8) ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกอบรม 3) ผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก คะแนนหลังการฝึกอบรมสูงกว่าเกณฑ์
ที่กำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการประเมินทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในภาพรวมอยู่ในระดับดีเยี่ยม ผลการวัดเจตคติของครูต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) ผลการประเมินหลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กรรณิการ์ ปัญญาดี. (2558). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกออนไลน์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2556). การพัฒนาหลักสูตร: ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: วีพรินท์.
เชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมกรรศึกษาปีที่ 3. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธนาธุ ศรีวรรณ. (2562). การพัฒนารูปแบบการชี้แนะเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 สำหรับครูระดับมัธยมศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 16(2), 535-547.
นงนุช วงษ์สุวรรณ. (2553). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). จันทบุรี: ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ สถานบันราชภัฎรำไพพรรณี.
พิจิตรา ธงพานิช. (2556). การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎี หลักการ แนวคิด ทิศทาง แนวโน้ม. (พิมพ์ครั้งที่ 5). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
ลัดดา กิติวิภาต. (2554). เจตคติและความคิดเห็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศิลป์ปวิชญ์ จันทร์พุธ. (2560). ผลการฝึกอบรมแบบผสมผสานร่วมกับการใช้เทคโนโลยีการประมวลผลแบกลุ่มเมฆที่มีต่อความสามารถในการออกแบบอินโฟกราฟิกของนักศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีกาศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). เอกสารประกอบการฝึกอบรม “คุณภาพผู้เรียนเกิดจากกระบวนการ เรียนรู้”. สระแก้ว: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว.
สมเกียรติ ทานอก และคณะ. (2556). การพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring. นครราชสีมา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สมศักดิ์ จี้เพ็ชร์. (2562). การพัฒนาคุณภาพครูโดยการนิเทศแบบสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) โรงเรียนมหาสวัสดิ์ (ราษฎรบำรุง). วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 15(2), 165-184.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2. (2561). รายงานผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ระหว่างปีการศึกษา 2561 - 2562. นราธิวาส: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552 - 2561). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จํากัด.
สำนักบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. (2560). คู่มือการจัดทำหลักสูตรการเสริมสร้างไอคิวและอีคิว สำหรับเด็กวัยแรกเกิด-5 ปี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุทธนู ศรีไสย์. (2555). หลักการนิเทศการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัญชลี ธรรมะวิธีกุล. (2552). กระบวนการนิเทศภายใน. กรุงเทพมหานคร: อักษรบริการ.
อารีย์ ธรรมโคร่ง. (2559). ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยการบูรณาการเชิงเนื้อหาผ่านสื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 12(1), 123-146.
Ali, Z. B. M. et al. (2018). A review of teacher coaching and mentoring approach. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 8(8), 504-524.
Blanchard, P. N. & Thacker, J. W. (2004). Effective training: System, strategies and practices. Upper Saddle River: Pearson Prentice Hall.
Dessler, G. (1999). Management: Fundamental modern principle & practices. (4th ed.). Reston, VA: Reston.
Glatthorn, A. A. et al. (2019). Curriculum Leadership: strategies for development and implementation. (2 ed.). California, USA: SAGE publications.
Knight, J. (2007). Instructional Coaching: A Partnership Approach to Improving Instruction. CA: Corwin Press.
Ornstein, A. G. & Hunkins, F. P. (2004). Curriculum foundation, principles and issuses. New York: Pearson Education.
Oskamp, S. (1991). Attitude and opinions. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
Posner, G. J. (2004). Analyzing curriculum. (3rd ed). New York: McGraw-Hill.
Rosenberg, M. J. & Hovland, C. I. (1960). ATTITUDE ORGANIZATION AND CHANGE. New Haven, Connecticut: Yale University Press.