การจัดการขยะของชุมชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในจังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการขยะของชุมชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 2) เสนอแนวทางการจัดการขยะของชุมชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในเทศบาลเมืองสะเดาจังหวัดสงขลา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ผู้วิจัยเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง ได้แก่ 1) ผู้บริหาร นักวิชาการสุขาภิบาล ผู้เชี่ยวชาญด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและด้านสาธารณสุข ภาคเอกชนในพื้นที่ ผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ จำนวน 25 คน โดยการสัมภาษณ์เฉพาะเจาะจง และ 2) ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ และผู้นำชุมชนที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 คน โดยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์แบบพรรณนาตามบริบทที่ต้องการศึกษา และวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการขยะของชุมชน คือ การใช้วิธีการฝังกลบโดยใช้เครื่องจักรของเทศบาลเกลี่ยและบดอัด แต่ปริมาณขยะเพิ่มขึ้น เนื่องมากจากประชาชนบางส่วนขาดความรู้ความเข้าใจ และไม่ได้ตระหนักถึงภัยที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมต่อท้องถิ่นตนเองในอนาคต ก่อให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ขยะที่ทิ้งไม่เป็นที่ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของภูมิทัศน์และลดคุณภาพชีวิตของประชาชน และ 2) แนวทางการจัดการขยะของชุมชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในเทศบาลเมืองสะเดาจังหวัดสงขลา ซึ่งเกี่ยวข้องกับชุมชน ภาคเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ 2.1) ส่งเสริมการลดปริมาณขยะ การส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ 2.2) ปรับปรุงระบบการจัดเก็บ ขนส่ง และกำจัดขยะให้มีประสิทธิภาพ 2.3) สร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมของชุมชนในกระบวนการจัดการขยะ 2.4) ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการจัดการขยะ และ 2.5) ส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานภาคเอกชน
Article Details
References
ฐานข้อมูลกองการต่างประเทศ. (2566). โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP). เรียกใช้เมื่อ 21 พฤศจิกายน 2566 จาก https://fad.mnre.go.th/th/mph/content/365
เทศบาลเมืองสะเดา (ทม.สะเดา) จ.สงขลา. (2566). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 - 2570) เพิ่มเติม/เปลี่ยนแปลง ครั้งที่ 3. เรียกใช้เมื่อ 20 พฤศจิกายน 2566 จาก https://sadaocity.go.th/files/com_strategy/2023-08_8a65064e38fc647.pdf
ผู้ให้สัมภาษณ์ คนที่ 1. (24 เม.ย. 2567). การจัดการขยะของชุมชนในจังหวัดสงขลา. (พระครูนิติธรรมบัณฑิต (สุริยา คงคาไหว) และคณะ, ผู้สัมภาษณ์)
ผู้ให้สัมภาษณ์ คนที่ 11. (29 เม.ย. 2567). การจัดการขยะของชุมชนในจังหวัดสงขลา. (พระครูนิติธรรมบัณฑิต (สุริยา คงคาไหว) และคณะ, ผู้สัมภาษณ์)
ผู้ให้สัมภาษณ์ คนที่ 15. (30 เม.ย. 2567). การจัดการขยะของชุมชนในจังหวัดสงขลา. (พระครูนิติธรรมบัณฑิต (สุริยา คงคาไหว) และคณะ, ผู้สัมภาษณ์)
ผู้ให้สัมภาษณ์ คนที่ 22. (30 เม.ย. 2567). การจัดการขยะของชุมชนในจังหวัดสงขลา. (พระครูนิติธรรมบัณฑิต (สุริยา คงคาไหว) และคณะ, ผู้สัมภาษณ์)
ผู้ให้สัมภาษณ์ คนที่ 4. (28 เม.ย. 2567). การจัดการขยะของชุมชนในจังหวัดสงขลา. (พระครูนิติธรรมบัณฑิต (สุริยา คงคาไหว) และคณะ, ผู้สัมภาษณ์)
ผู้ให้สัมภาษณ์ คนที่ 6. (29 เม.ย. 2567). การจัดการขยะของชุมชนในจังหวัดสงขลา. (พระครูนิติธรรมบัณฑิต (สุริยา คงคาไหว) และคณะ, ผู้สัมภาษณ์)
พิณะเวช คงยั่งยืน และคณะ. (2567). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะกรณีศึกษา ชุมชนตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วารสารธรรมเพื่อชีวิต, 30(2), 408-417.
ภูษิต แจ่มศรี และอนุรัตน์ อนันทนาธร. (2566). ปัญหาข้อจำกัดและแนวทางการพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลขนาดใหญ่ในเขตพื้นที่อุตสาหกรรมภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารการเมืองการบริหารและกฎหมาย, 15(1), 123-139.
วัลย์นภา ฮวบเอี่ยม และคณะ. (2566). การรับรู้นโยบายการจัดการขยะพลาสติกและพฤติกรรมการจัดการขยะพลาสติกของผู้บริโภคเครื่องดื่มกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 1(1), 1-19.
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา. (2565). สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสงขลา เร่งขับเคลื่อนการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐจังหวัดสงขลาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ. เรียกใช้เมื่อ 21 พฤศจิกายน 2566 จาก https://www.songkhla.go.th›news›detail›data
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). เรียกใช้เมื่อ 19 มีนาคม 2566 จาก https://www.nesdc.go.th/download/Plan13/Doc/Plan13_DraftFinal.pdf
สุริยะ หาญพิชัย และจันทร์ฉาย จันทร์ลา. (2561). การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลลำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 12(1), 67-85.