กลยุทธ์การขับเคลื่อนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในบริบทความเปลี่ยนแปลง ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่เพื่อการเข้าถึง กลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา 2) สร้างกลยุทธ์ 3) ถ่ายทอดกลยุทธ์ และ 4) สร้างคู่มือการขับเคลื่อนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในบริบทความเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่เพื่อการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายของคณะสงฆ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ มีจำนวน 306 คน จากการคำนวณของ Krejcie & Morgan ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูล ส่วนเชิงคุณภาพ กำหนดกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 55 คน จากการคัดเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหา ได้แก่ นักเรียน นักศึกษา ในสถานการศึกษาแทบจะไม่มีอ่านเลย ผู้มีหน้าที่ในการเผยแผ่ศาสนา ไม่ค่อยมีความรู้ความสามารถเท่าที่ควร พุทธศาสนิกชนที่เข้าวัดล้วนแล้วแต่มีอายุมาก ทำให้ต้องใช้การเผยแผ่แบบเดิม ซึ่งไม่สามารถครอบคลุมและเข้ากับยุคสมัย 2) การสร้างกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พบว่า ตัวแปร 7 ด้าน มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และตัวแปรอิสระ 7 ตัว มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในตัวแปร มีค่าอยู่ระหว่าง .402 ถึง .528 มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ถ่ายทอดกลยุทธ์การขับเคลื่อนการเผยแผ่พระพุทธศาสนา กับการกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พระสอนศีลธรรม และบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนผ่านในหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง และ 4) สร้างคู่มือการขับเคลื่อนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยใช้การใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล
Article Details
References
กรมการศาสนา. (2540). คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยเรื่องการคณะสงฆ์และการศาสนา. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา.
เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์. (2550). เอกสารการเรียนรู้การทำวิจัยด้วยตนเอง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธานินทร์ อินทรวิเศษ. (2562). เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University, 12(6), 478-494.
บริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด. (2555). เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับพระพุทธศาสนา ICT and Buddhism. เรียกใช้เมื่อ 11 สิงหาคม 2565 จาก https://www.ryt9.com/s/prg/1501698
ประสิทธิ์ พฤกษาจารสิริ. (2560). พระพุทธศาสนากับโลกดิจิทัล. เรียกใช้เมื่อ 10 สิงหาคม 2565 จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_426555
ปิ่น มุทุกันต์. (2533). มุมสว่าง. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มีเดียโฟกัส.
พระณปวร โทวาท. (2560). ต้นแบบการบริหารจัดการเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาประจำจังหวัดในประเทศไทย. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยสยาม.
พระมหาศิวกร ปญฺญาวชิโร และคณะ. (2563). บทบาทและหน้าที่ของพระธรรมทูตจากอดีตสู่ปัจจุบัน. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 6(1), 116-131.
ยืน ภู่วรวรรณ. (2562). เทคโนโลยีดิจิทัลกับการพัฒนาคลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิดเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้: รูปแบบ ต้นแบบ. เรียกใช้เมื่อ 10 สิงหาคม 2565 จาก https://www.tla.or.th/images/Presentation_62/DigitalTechnology_VS_KM-Template.pdf
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์. (ช่วง วรปุญฺโญ). (2540). การเผยแผ่พระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.