การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกหัวไชเท้าระหว่าง วิธีแบบหยอดหลุมกับวิธีแบบหว่านของเกษตรกรปลูกหัวไชเท้า อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกหัวไชเท้าระหว่างวิธีแบบหยอดหลุมกับวิธีแบบหว่านของเกษตรกรปลูกหัวไช ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือเกษตรกรปลูกหัวไชเท้า อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี จำนวน 127 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง รูปแบบการวิจัย เชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนการปลูกหัวไชเท้าแบบหยอดหลุมมีวัตถุดิบ 1,258.58 บาท/ไร่ ค่าแรงงาน 3,716.67 บาท/ไร่ ค่าใช้จ่ายในการปลูก 7,886.87 บาท/ไร่ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 1,848.33 บาท/ไร่ ปริมาณผลผลิต 3,483.33 กิโลกรัม/ไร่ ผลตอบแทนจากการปลูกหัวไชเท้า 32,019.99 บาท/ไร่ กำไรสุทธิ 17,309.54 บาท/ไร่ รายได้ ณ จุดคุ้มทุน 9,031.34 บาท/ไร่ ระยะเวลาคืนทุน 10 ปี 11 เดือน 9 วัน ต้นทุนการปลูกหัวไชเท้าแบบหว่านมีวัตถุดิบ 187.92 บาท/ไร่ ค่าแรงงาน 2,784.51 บาท/ไร่ ค่าใช้จ่ายในการปลูก 5,720.37 บาท/ไร่ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 932.4 บาท/ไร่ ปริมาณผลผลิต 7,028.17 กิโลกรัม/ไร่ ผลตอบแทนจากการปลูกหัวไชเท้า 19,157.75 บาท/ไร่ กำไรสุทธิ 7,760.40 บาท/ไร่ รายได้ ณ จุดคุ้มทุน 6,472.17 บาท/ไร่ และระยะเวลาคืนทุน 8 ปี 3 วัน สรุปการวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกหัวไชเท้าแบบหยอดหลุมมีต้นทุนและผลตอบแทนสูงกว่าแบบหว่านประกอบด้วยวัตถุดิบ 4,207.3 บาท/ไร่ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 915.93 บาท/ไร่ ผลตอบแทน 12,862.24 บาท/ไร่ กำไรสุทธิ 9,549.14 บาท/ไร่ รายได้ ณ จุดคุ้มทุน 2,559.17 บาท/ไร่ และระยะเวลาคืนทุนวิธีแบบหว่านเร็วกว่าแบบหยอดหลุมเท่ากับ 2 ปี 11 เดือน 6 วัน
Article Details
References
กรมวิชาการเกษตร. (2566). อาชีพเกษตรกรราชบุรี. เรียกใช้เมื่อ 8 ธันวาคม 2566 จาก https://shorturl.asia/6hRWt
ชวิศา ตงศิริ. (2563). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกผักเกษตรอินทรีย์ปลอดสาร และใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช. เรียกใช้เมื่อ 12 พฤษภาคม 2566 จาก https://digital.library.tu.ac.th
ชาลิสา สุวรรณกิจ และกนกเนตร เปรมปรี. (2563). การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนระหว่างการปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์กับเกษตรเคมี. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(2), 519-526.
ฐิติมา ทับอาษา และคณะ. (2564). ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตบัวฝักของเกษตรกรในจังหวัดหนองคายและจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารแก่นเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 46(1), 179-184.
บุรัสกร โตรัตน์. (2564). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกผักอินทรีย์ของเกษตรกรรายย่อยกรณีศึกษาเครือข่ายเกษตรกรตำบลท่าตําหนัก อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 10(2), 59-71.
เธียรชัย พันธ์คง และคณะ. (2558). การวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนและประสิทธิภาพการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา. วารสารศรีนครินทรวิโรฒ วิจัยและพัฒนา, 7(13), 63-70.
พิธาน แสนภักดี. (2562). การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกมะนาวแบบบ่อซีเมนต์กับแบบปลูกลงดินของเกษตรกร ตำบลวังลึกอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 8(1),258-264.
ศิริทรัพย์ จบเจนภัย และธนัญญา วสุศรี. (2557). การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตในโซ่อุปทานกล้วยไข่กรณีศึกษาจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการเกษตร, 32(1), 16-34.
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2540). การบัญชีต้นทุน. กรุงเทพมหานคร: แมคกรอ-ฮิล.
สำนักโภชนาการกรมอนามัยกระทรวงสาธารณาสุข. (2564). คุณค่าทางโภชนาการ. เรียกใช้เมื่อ 2 พฤษภาคม 2567 จาก https://thaifcd.anamai.moph.go.th
สำนักงานเกษตร อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. (2566). พื้นที่การเกษตรจังหวัดราชบุรี. เรียกใช้เมื่อ 14 พฤษภาคม 2566 จาก http://www.ratchaburi.doae.go.th
สำนักงานเกษตรจังหวัดราชบุรี. (2566). พื้นที่การเกษตรจังหวัดราชบุรี. เรียกใช้เมื่อ 24 มิถุนายน 2566 จาก http://www.ratchaburi.doae.go.th
สิริเพ็ญ ศรีสุข และคณะ. (2558). การพัฒนากระบวนการเพาะปลูกผักกาดหัว ชุมชนบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น. ในรายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrical, 16(3), 297-334.