ปัจจัยความสำเร็จของการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อย่างมีส่วนร่วมของชุมชนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา: กรณีศึกษาบ้านช่องฟืน อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการแนวปฏิบัติที่ดีของความสำเร็จในการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งแบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านช่องฟืน 2) ศึกษาปัจจัยความสำเร็จของกระบวนการแนวปฏิบัติที่ดี และ 3) จัดทำนโยบายสาธารณะเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลชายฝั่ง ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ คนในชุมชนบ้านช่องฟืนที่เป็นสมาชิกกลุ่ม 9 กลุ่มกิจกรรม และตัวแทนชุมชนรอบลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาที่นำนโยบายไปใช้ประโยชน์ 7 หมู่บ้าน ภาคีเครือข่าย ได้แก่ สำนักงานจังหวัดพัทลุง องค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง ท้องถิ่นจังหวัดพัทลุง สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 5 สมาคมรักษ์ทะเลไทย และสมาคมชาวประมงรักษ์ทะเลสาบ เครื่องมือในการถ่ายทอดองค์ความรู้ คือ องค์ความรู้จากงานวิจัย 2 เรื่อง 1) สิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากรอย่างมีส่วนร่วม และ 2) กติกาชุมชนเพื่อการทำประมงยั่งยืน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสังเกต สัมภาษณ์ และแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์บรรยายสรุปเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า แนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งเกิดจากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน การแบ่งหน้าที่อย่างชัดเจน และการกำหนดระเบียบข้อบังคับที่เป็นรูปธรรม ปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ ได้แก่ การมีผู้นำชุมชนที่ได้รับการยอมรับและความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย และข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) การจัดสรรพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ร่วมกัน 2) การส่งเสริมจิตสำนึกและให้ความรู้ด้านกฎหมายและสิทธิชุมชน 3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับภาครัฐ 4) การบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นระบบ และ 5) การส่งเสริมอาชีพให้ประชาชน
Article Details
References
กฤตยา โชคสมศิลป. (2562). ความร่วมมือในการสร้างชุมชนเข้มแข็ง: กรณีศึกษาบ้านวังนกไข่ตําบลหนองนกไข่อําเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จักรี ศรีจารุเมธีญาณ และพระถนัด วฑฺฒโน. (2567). ภาวะผู้นำกับการพัฒนาชุมชน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(ฉบับพิเศษ), 527-538.
ณัฐพงค์ คงยัง และคณะ. (2565). นวัตกรรมการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลอย่างยั่งยืน. วารสารร้อยแก่นสาร, 8(1), 90-107.
นงนุช ศรีสุข และเบญญาดา กระจ่างแจ้ง. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนต้นแบบบ้านคลองอาราง จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 16(1), 97-105.
น้อย แก่นแท่น. (2 เม.ย. 2555). วิถีชีวิตชาวประมงบ้านจองถนน. (ผู้สัมภาษณ์ A, ผู้สัมภาษณ์)
เบญจวรรณ เพ็งหนู และคณะ. (2559). กติกาชุมชนเพื่อการทำประมงยั่งยืน. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ไพโรจน์ ศิริมนตราภรณ์ และคณะ. (2551). ศักยภาพของข้อมูลทุติยภูมิเพื่อการศึกษาการฟื้นฟูทะเลสาบสงขลา. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
เมทินา อิสริยานนท์ และคณะ. (2564). แนวทางการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งสู่การจัดการตนเองอย่างยั่งยืนของตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 10(2), 15-30.
สถาบันลูกโลกสีเขียว. (2567). รางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 22 ประจำปี 2566 ประเภทชุมชน. เรียกใช้เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://www.greenglobeinstitute.com/Frontend/Content.aspx?ContentID=6499110d-42bf-496d-8ab8-1e8e6a5fbc97&utm_source=chatgpt.com
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). เรียกใช้เมื่อ 3 มกราคม 2568 จาก https://www.nesdc.go.th/article_attach/article_file_20230307173518.pdf
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก. (2564). สภาพทั่วไป จำนวนประชากร จำนวนครัวเรือน และผู้นำหมู่บ้านในพื้นที่ตำบลเกาะหมาก. เรียกใช้เมื่อ 16 มกราคม 2568 จาก http://www.khomak.go.th/page.php?id=4619
อนันตวุฒิ บุญเนือง และคณะ. (2566). ปัจจัยความสำเร็จในการสร้างชุมชนเข้มแข็งบ้านสัมมาชีพชุมชนกรณีศึกษาบ้านโกรกลึก ตำบลน้ำรอบ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(2), 342-356.
อุ่นเรือน เล็กน้อย. (2561). ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อสร้างการเฝ้าระวังทางสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมสำหรับประเทศไทย. วารสารสิ่งแวดล้อม, 22(2), 30-36.