การบริหารสถานศึกษาตามหลักไตรสิกขาในเชิงบูรณาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1

ผู้แต่ง

  • ประภาภรณ์ ภูขาว รองผู้อำนวยการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1

คำสำคัญ:

การบริหารสถานศึกษา, หลักไตรสิกขา, การบูรณาการ

บทคัดย่อ

     บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาตามหลักไตรสิกขาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 และ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักไตรสิกขาในเชิงบูรณาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จํานวน 113 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม นำเสนอผลการวิจัยด้วยการใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มาวิเคราะห์ข้อมูล

     ผลการศึกษาพบว่า สภาพการบริหารสถานศึกษาตามหลักไตรสิกขา ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการบริหารงบประมาณ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 ด้านการบริหารงานวิชาการ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 ด้านการบริหารงานทั่วไป ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 ด้านการบริหารงานบุคคล ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 ตามลำดับ

     แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักไตรสิกขาในเชิงบูรณาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 พบว่า สามารถบูรณาการหลักไตรสิกขาได้หลายด้าน คือ 1) ด้านทรัพยากรทางการบริหาร เช่น บุคลากร ระบบบริหาร อาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม หลักสูตร สื่อและแหล่งการเรียนรู้ อุปกรณ์การศึกษา สาธารณูปโภคพื้นฐานสวัสดิการ และงบประมาณ 2) ด้านกระบวนการบริหาร เช่น การวางแผน การจัดองค์การ การบริหารงานบุคคล การวินิจฉัยสั่งการ การประสานงาน การรายงาน และการงบประมาณ 3) ด้านผลลัพธ์ เช่น ด้านปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ และด้านการบริหารสถานศึกษาตามหลักไตรสิกขาในเชิงบูรณาการ และ 4) ด้านผลกระทบ เช่น ผลสะท้อนกลับจากกบุคคลผู้เกี่ยวข้องและมีส่วนได้เสียกับสถานศึกษา

References

ประคอง กรรณสูตร. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
พระจักรพันธ์ ปญฺญาธโร (แซ่เตียว). (2553). การบริหารการเรียนการสอนโรงเรียนประถมศึกษาสังกัด สำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหามหานคร. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2532). การศึกษาที่สากลบนพื้นฐานแห่งภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พระธนากร วชิรธมฺโม (โพธิ์วัน). (2554). การบริหารงานบุคลากรการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาเขต บางกอกใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2542) พุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระอธิการสกายแลบ ธมฺมธโร (นามโท). (2561) การบริหารสถานศึกษาตามหลักไตรสิกขา ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
. (2547). โรงเรียนวิถีพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rdEd.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-03