คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

คำแนะนำผู้นิพนธ์บทความ

  1. ลักษณะของบทความที่ตีพิมพ์
  • เตรียมต้นฉบับบทความพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft word ใส่เทมเพลตของวารสาร ซึ่งกำหนดดังนี้
  • บทความวิจัยไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ A4 เทมเพลตบทความวิจัย
  • บทความวิชาการไม่เกิน 17 หน้ากระดาษ A4 เทมเพลตบทความวิชาการ
  • บทวิจารณ์หนังสือและบทความปริทรรศน์ไม่เกิน 10 หน้ากระดาษ A4 เทมเพลตบทวิจารณ์หนังสือ
  • บทความที่ส่งมาจะต้องเป็นบทความที่เขียนใหม่ทั้งหมด ผู้เขียนจะต้องไม่เคยตีพิมพ์บทความนี้มาก่อน หรือ บทความที่ส่งมาตีพิมพ์จะต้องไม่อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของวารสารอื่น ทั้งนี้หากเป็นบทความจากการนำเสนอสัมมนา ประชุมวิชาการ งานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ จะต้องเขียนกำกับไว้ในเชิงอรรถหน้าแรกสุดชองบทความ
  • บทความที่ส่งมาตีพิมพ์จะต้องไม่ผิดจริยธรรมทางวิชาการตามวารสารกำหนด จริยธรรมการตีพิมพ์
  • การจัดเตรียมต้นฉบับในการส่งมายังวารสารเพื่อพิจารณาตีพิมพ์นั้น จะต้องจัดเตรียมต้นฉบับให้มีความชัดเจน ครบถ้วนตามกฎเกณฑ์ของวารสาร
  1. การส่งบทความพื่อตีพิมพ์

ผู้นิพนธ์บทความจะต้องเตรียมบทความตามเกณฑ์และเงื่อนไขของวารสาร จากนั้นส่งบทความมาที่ระบบของเว็บไซต์ที่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/about โดยจะต้องส่งไฟล์ได้แก่

  • ไฟล์บทความฉบับสมบูรณ์ตามเกณฑ์เงื่อนไขของวารสาร
  • ไฟล์แบบขอส่งบทความลงลายมือชื่อยืนยันว่าบทความไม่เคยตีพิมพ์และไม่ได้ส่งตีพิมพ์กับที่อื่นมาก่อน แบบขอส่งบทความตีพิมพ์
  • ไฟล์แนบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งบทความ (ถ้ามี)
  1. การจัดเตรียมต้นฉบับบทความ

ต้นฉบับบทความจะต้องเป็นบทความที่พิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft word  โดยส่วนประกอบหลักต้องประกอบด้วย

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย (ตัวหนา ขนาด 18) และ ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ (ตัวหนา ขนาด 16) จัดชิดซ้าย
  • ชื่อผู้นิพนธ์บทความภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ (ตัวอักษรขนาด 14)เว้นระยะห่าง 1.08 บรรทัดจากชื่อเรื่องลงมา จัดชิดซ้าย
  • บทคัดย่อภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ (ตัวอักษรขนาด 16) จัดให้อยู่ในกรอบที่เทมเพลตวารสารจัดไว้เท่านั้น โดยไม่เกิน 350 คำ
  • คำสำคัญภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ ให้มี 3-5 คำ และจัดอยู่ในส่วนที่วารสารกำหนดไว้ในเทมเพลตของวารสาร
  • เนื้อหา การเรียงหัวข้อ หัวข้อใหญ่สุด ให้พิมพ์ชิดขอบด้านซ้าย หัวข้อย่อยเว้นห่างจาก หัวข้อใหญ่ 3-5 ตัวอักษร และหัวข้อย่อยขนาดเดียวกัน ต้องพิมพ์ให้ตรงกัน เมื่อขึ้นหัวข้อใหญ่ ให้เว้นระยะห่าง 1 บรรทัด
  • การใช้ตัวเลข คำย่อ และวงเล็บ ควรใช้ตัวเลขอารบิกทั้งหมด ใช้คำย่อที่เป็น สากลเท่านั้น (ระบุคำเต็มไว้ในครั้งแรก) การวงเล็บภาษาอังกฤษ ควรใช้ดังนี้ (Student centred learning)
  • เอกสารอ้างอิง ใช้รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อเรื่องและท้ายเล่มใช้วิธีการอ้างอิงระบบนาม – ปี ตามรูปแบบของ American Psychological Association (APA)

ในการจัดเตรียมต้นฉบับบทความ ให้ผู้นิพนธ์จัดเตรียมต้นฉบับบทความซึ่งจะต้องมีส่วนประกอบตามประเภทต่าง ๆ ของบทความเรียงลำดับดังนี้

3.1 บทความวิจัย

บทความวิจัยคือบทความที่ได้จากการทำวิจัยในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับขอบข่ายเนื้อหาที่ทางวารสารเปิดรับ ซึ่งบทความวิจัยจะต้องประกอบด้วยส่วนประกอบเรียงลำดับดังนี้

  • ชื่อเรื่อง ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  • ชื่อผู้แต่งและสังกัด ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  • บทคัดย่อ ความยาวไม่เกิน 350 คำ
  • คำสำคัญ 3-5 คำ
  • บทนำ เป็นส่วนของที่มาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย ในส่วนนี้จะต้องเขียนแสดงการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเข้ามาในส่วนเดียวกันนี้เลย รวมถึงคำถามของการวิจัยด้วย
  • วัตถุประสงค์ของการวิจัย เป็นส่วนเขียนแสดงให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ของการทำวิจัย อาจจะเขียนโดยรวมหรือเขียนแยกเป็นข้อ ๆ ก็ได้
  • วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วยรูปแบบของการวิจัย การดำเนินการวิจัย เครื่องมือในการวิจัย กลุ่มประชากรและตัวอย่าง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ การวิเคราะห์ข้อมูล และการสรุป 
  • กรอบแนวคิดของการวิจัย
  • ผลการวิจัย แสดงผลการวิจัยตามที่ผู้วิจัยค้นพบ
  • อภิปรายผลเขียนอภิปรายผลการวิจัยให้ละเอียด นำเสนอถกเถียง โต้แย้งอย่างลุ่มลึกและครอบคลุม
  • องค์ความรู้ใหม่ ระบุองค์ความรู้ใหม่อันเป็นผลมาจากการวิจัย การสังเคราะห์ออกมาในลักษณะ แผนภาพ แผนภูมิ หรือผังมโนทัศน์ พร้อมคำอธิบายรูปแบบ/โครงสร้างอย่างกระชับ เข้าใจง่าย หรือเขียนเชิงพรรณนา
  • สรุปผลการวิจัย สรุปผลการวิจัยอย่างครอบคลุมตามวัตถุประสงค์
  • ข้อเสนอแนะ  เขียนข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย
  • เอกสารอ้างอิง เขียนอ้างอิงท้ายเรื่องตามที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง เรียงตามตัวอักษรชื่อผู้แต่ง โดยเอกสารอ้างอิงภาษาไทยจนครบแล้วค่อยตามด้วยเอกสารอ้างอิงภาษาอังกฤษ

3.2 บทความวิชาการและบทความปริทรรศน์

บทความวิชาการคือบทความที่เขียนขึ้นซึ่งได้มาจากประสบการณ์วิจัยอันเป็นเวลายาวนานของผู้วิจัย หรือเป็นบทความที่นำเสนอข้อถกเถียง แนวคิด หรือกรอบการศึกษาใหม่ ๆ ในวงการวิชาการ ส่วนบทความปริทรรศน์คือบทความที่เขียนขึ้นแสดงถึงการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นสำคัญของการวิจัยประเด็นใดประเด็นหนึ่งจากอดีตถึงปัจจุบัน รวบรวมแล้วนำเสนอเพื่อนำไปสู่ปัญหาใหม่ในการวิจัย โดยมีส่วนประกอบดังนี้

  • ชื่อเรื่อง ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  • ชื่อผู้แต่งและสังกัด ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  • บทคัดย่อ ความยาวไม่เกิน 250 คำ
  • คำสำคัญ 3-5 คำ
  • บทนำ
  • เนื้อหา แสดงสาระสำคัญที่ต้องการนำเสนอตามสำดับ
  • บทสรุป
  • เอกสารอ้างอิง เขียนอ้างอิงท้ายเรื่องตามที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง เรียงตามตัวอักษรชื่อผู้แต่ง โดยเอกสารอ้างอิงภาษาไทยจนครบแล้วค่อยตามด้วยเอกสารอ้างอิงภาษาอังกฤษ

3.3 บทวิจารณ์หนังสือ

เป็นการแนะนำหนังสือที่น่าสนใจ ทั้งนี้จะต้องแสดงจุดเด่น จุดด้อย และข้อเสนอแนะต่อหนังสือที่นำมาวิจารณ์ ส่วนประกอบมีดังนี้คือ

  • ชื่อเรื่อง ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  • ชื่อผู้วิจารณ์และสังกัด ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  • เนื้อหา แสดงสาระสำคัญที่ต้องการนำเสนอตามสำดับ
  • บทสรุป
  • เอกสารอ้างอิง

กองบรรณาธิการจะพิจารณาบทความเบื้องต้น เกี่ยวกับความถูกต้องของรูปแบบทั่วไป ถ้าไม่ผ่านการพิจารณาจะส่งกลับไปแก้ไข ถ้าผ่านจะเข้าสู่การพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิเมื่อผลการประเมินผ่านหรือไม่ผ่านหรือมีการแก้ไข จะแจ้งผลให้ผู้เขียนทราบ โดยการพิจารณาบทความเพื่อลงตีพิมพ์ได้จะคำนึงถึงความหลากหลายและความเหมาะสม

  1. ระบบการอ้างอิงและเอกสารอ้างอิงทางวิชาการพร้อมตัวอย่างประกอบ

เอกสารที่นำมาอ้างอิงควรได้มาจากแหล่งที่มีการตีพิมพ์ชัดเจน อาจเป็นวารสาร หนังสือหรือข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตทั้งนี้ผู้เขียนบทความต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของเอกสารอ้างอิงทั้งหมดก่อนส่งต้นฉบับผู้เขียนบทความควรตรวจสอบถึงความถูกต้อง ของการอ้างอิงเอกสาร เพื่อป้องกันความล่าช้าในการตีพิมพ์บทความ เนื่องจากบทความที่มีการอ้างอิงไม่ถูกต้องจะไม่ได้รับการส่งต่อเพื่อพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจนกว่าการอ้างอิงเอกสารจะได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง

4.1 การอ้างอิงในเนื้อหาบทความ

      รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อเรื่องและท้ายเล่มใช้วิธีการอ้างอิงระบบนาม – ปี ตามรูปแบบของ American Psychological Association (APA) ให้ใช้ระบบตัวอักษรโดยใช้วงเล็บ เปิด-ปิด แล้วระบุชื่อ-นามสกุลของผู้เขียนและเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง กำกับท้ายเนื้อความที่ใต้อ้างอิง เอกสารที่อ้างอิงในบทความจะต้องปรากฏในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความทุกรายการ และเจ้าของบทความต้องรับผิดชอบถึงความถูกต้องของเอกสารที่นำมาอ้างอิงทั้งหมด โดยรูปแบบของการอ้างอิงเอกสาร มีดังนี้   

     อ้างอิงจากเอกสารภาษาไทย

1) พระไตรปิฎกและอรรถกถาให้อ้างชื่อคัมภีร์เล่มที่ข้อเครื่องหมายทวิภาค (:) และเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง เช่น (พระไตรปิฎกภาษาไทย/20/12/50), (พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถาแปล/18/100)

2) ผู้แต่งหนึ่งคนให้อ้างชื่อผู้แต่งเครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยปีที่พิมพ์เครื่องหมายจุลภาค (,) และเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง เช่น (เด่นพงษ์ แสนคำ, 2562)

3) ผู้แต่งสองคนให้อ้างชื่อของผู้แต่งสองคนเครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยปีที่พิมพ์เครื่องหมายจุลภาค (,) และเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง เช่น (บัวพันธ์ พรหมพักพิง และ สุวิทย์ ธีรศาศวัต, 2563) หากมีเอกสารที่นำมาอ้างอิงมากกว่า 1 รายการให้ใช้เครื่องหมายอัฒภาค (;) คั่นระหว่างรายการอ้างอิง เช่น (พระพรหมบัณฑิต ประยูรธมฺมจิตฺโต, 2550; ป.อ. ปยุตฺโต, 2560)

4) ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 2 คนให้อ้างชื่อของผู้แต่งคนแรกเว้นวรรคหนึ่งครั้งเพิ่มคำว่า “และคณะ” เครื่องหมายจุลภาค (,) และเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง เช่น (สังเวียน สาผาง และคณะ, 2558)

5) ให้เรียงลำดับการอ้างอิงตามลำดับพยัญชนะตัวแรกของชื่อผู้แต่งเช่นเดียวกับลำดับการอ้างอิงในส่วนเอกสารอ้างอิง

6) กรณีอ้างอิงสื่อออนไลน์ อ้างชื่อผู้แต่งเครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยปีที่แต่งเครื่องหมายจุลภาค (,) และใส่คำว่า “ออนไลน์) เช่น (หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช, 2562)

อ้างอิงจากเอกสารภาษาอังกฤษ

1) ถ้ามีผู้แต่งหนึ่งคนให้อ้างนามสกุลของผู้แต่ง เครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์ และ หน้าที่นำมาอ้างอิง เช่น (Rawls, 1999, p. 16)

2) ถ้ามีผู้แต่งสองคนให้อ้างนามสกุลของผู้แต่งสองราย เครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์ และหน้าที่นำมาอ้างอิง เช่น (Barry & Larope, 2010, p. 46) และให้ใช้เครื่องหมาย อัฒภาค (;) คั่นกลางระหว่างเอกสารที่นำมาอ้างอิงมากกว่า 1 เอกสาร เช่น (Rawls, 1999; Barry & Larope, 2010)

3) ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 2 คนให้อ้างนามสกุลของผู้แต่งรายแรกตามด้วย et al, ปีที่พิมพ์ และหน้าที่นำมาอ้างอิง (Rawls et al., 2008)

4) ให้เรียงลำดับการอ้างอิงชื่อผู้แต่ง

5) กรณีอ้างอิงสื่อออนไลน์ อ้างชื่อผู้แต่งเครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยปีที่แต่งเครื่องหมายจุลภาค (,) และใส่คำว่า “ออนไลน์) เช่น (Doyle, M. W., 2004)

หลักเกณฑ์ทั่วไปในการพิมพ์รายการสำนักพิมพ์/โรงพิมพ์ 

กรณีเป็นสำนักพิมพ์หรือบริษัทให้คงไว้เฉพาะชื่อ ดังตัวอย่าง

1) บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด ใช้ นานมีบุ๊คส์

2) สำนักพิมพ์เทียนวรรณ ใช้ เทียนวรรณ

3) กรณีที่เป็นโรงพิมพ์ให้ใช้รูปแบบเต็ม เช่น โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

4.2 เอกสารอ้างอิงท้ายบทความ

(1) พระไตรปิฎก อรรถกถา

รูปแบบ :

ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อพระไตรปิฎกอรรถกถา./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.

ตัวอย่าง :

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

(2) หนังสือ

รูปแบบ :

ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อหนังสือ./(ครั้งที่พิมพ์)./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.  

ตัวอย่าง :

จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2516). ประวัติพระพุทธศาสนาในเอเชียอาคเนย์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: อภิธรรมมูลนิธิมหาธาตุวิทยาลัย.

Coady, D. (2012). What to believe now: Applying Epistemology to Contemporary Issues. Oxford: Blackwell.

   (3) บทความในหนังสือ

รูปแบบ :

ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ),/ชื่อเรื่อง./(เลขหน้าที่อ้าง)./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.

ตัวอย่าง :

ดำคง คงเดช. (2560). การสร้างความปรองดองในสังคมไทยด้วยหลักพุทธศาสนา ใน อนันต์ แจ่มชื่น (บรรณาธิการ), ธรรมโอสถกับการเยียวยาสังคม. (น. 112-125). กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์.

Greco, J. (1999). Introduction What is Epistemology?. In Greco, J. & Sosa, E. (Eds.). The Blackwell Guide to Epistemology. (pp. 1 – 32) Oxford: Blackwell.

(4) บทความจากวารสาร

รูปแบบ :

ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร./ปีที่(ฉบับที่), /เลขหน้าแรก ที่ตีพิมพ์-เลขหน้าสุดท้ายที่ตีพิมพ์.

ตัวอย่าง :

สมภาร พรมทา. (2539). มนุษย์กับการแสวงหาความรู้: ข้อเสนอจากพุทธปรัชญาว่าด้วยธรรมชาติและบทบาทของความรู้. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา, 3(2), 5–28.

Hernon, P. (1995). Disinformation and misinformation through the Internet: Findings of an exploratory study. Government Information Quarterly, 12(2), 133-139.

(5) หนังสือแปล

รูปแบบ :

ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่องที่แปล/[ชื่อต้นฉบับ]/(ชื่อผู้แปล, ผู้แปล)./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.

ตัวอย่าง :

ปาร์กเกอร์, อาร์. บี. (2552). ศพคนดัง [High profile] (อิสริยา ชมภูผล, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: นกฮูก พับลิชชิ่ง.

บริกแฮม, อี. เอฟ., และฮุสตัน, เจ. เอฟ. (2544). การจัดการการเงิน [Fundamentals of financial management] (เริงรัก จำปาเงิน, ผู้แปลและเรียบเรียง). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บุ๊คเน็ท.

(6) บทความในสารานุกรม

รูปแบบ :

ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ใน ชื่อสารานุกรม,/(เล่มที่อ้าง, น. เลขหน้าที่อ้าง)./สถานที่พิมพ์: /สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.

ตัวอย่าง :

ไพฑูรย์  นามวิจิต. (2540). ช้าง ม้า วัว ควาย. ใน สารานุกรมไทยสำหรับเขาวชน, (น. 200-215). กรุงเทพฯ: เสริมสร้างความรู้.

Landesman, C. (1967). Consciousness. In The Encyclopedia of Philosophy, (Vol. 2, pp.191-195).

(7) หนังสือพิมพ์

รูปแบบ :

ผู้แต่ง./(วันที่ เดือน ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อหนังสือพิมพ์,/เลขหน้า.

ตัวอย่าง :

อเนก พูลทรัพย์. (10 สิงหาคม 2560). ปัญหาการเมืองไทย. มติชน, น. 10.

(8) วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

รูปแบบ :

ชื่อผู้เขียน./(ปีพิมพ์)./ชื่อวิทยานิพนธ์./(ระดับวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์/หรือการค้นคว้าแบบอิสระ,/ชื่อมหาวิทยาลัย)

ตัวอย่าง:

อัญชลี ปิยปัญญาวงศ์. (2547). มโนทัศน์เรื่องเหตุการณ์อัศจรรย์ของเดวิด ฮูม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

(9) รายงานการวิจัย

รูปแบบ:

ชื่อผู้เขียน./(ปีพิมพ์)./ชื่อวิจัย/(รายงานวิจัย)./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง :

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). สถานภาพการประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานรองรับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

(10) เอกสารการประชุมทางวิชาการ

รูปแบบ :

ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ใน/ชื่อบรรณาธิการ(รรณาธิการ หรือ Ed. หรือ Eds.),/ชื่อการประชุม/(เลขหน้า)./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.

ตัวอย่าง :

นัฏนนท์ เขียวขำ และธิดาทิพย์ ปานโรจน์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเคลื่อนไหวดัชนีราคาหลักทรัพย์ กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ม.. ตรัง วิจัย ประจำปี 2561 สาขาวิชาการบัญชี/การเงิน วิจัยก้าวใหม่ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (น. 59-68). ตรัง: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง.

Soutar, G., & Mazzarol, T. W. (1995). Gaining competitive advantage in education services exports: Forward integration and strategic alliances in a maturing market. In G. Tower (Ed.), Proceeding of the Academy of International Business Southeast Asia Regional Conference, Asia Pacific International Business: Regional integration and global competitiveness (pp. 85-110). Perth: Murdoch University.

(11) สัมภาษณ์

รูปแบบ:

ชื่อผู้ที่ได้รับการสัมภาษณ์./(ปี)./ตำแหน่ง./สัมภาษณ์./วัน เดือน.

ตัวอย่าง :

พระมหาวสันต์ ญาณเมธี, ดร.. (2558). เจ้าอาวาส วัดศรีศาสดา. สัมภาษณ์. 5 มีนาคม.

(12) สื่อออนไลน์

รูปแบบ :

ผู้แต่ง./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อบทความ./สืบค้น วันที่ เดือน ปี./จาก แหล่งที่อยู่ไฟล์ (URL)

ตัวอย่าง :

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช. (2562). มิจฉาทิฏฐิ. สืบค้น 4 สิงหาคม 2563. จาก https://www.dhamma.com/download/micchaditthi.

Doyle, M. W.. (2004). Liberal Internationalism:Peace, War and Democracy. Retrieved 2 September 2013. from http://www.nobelprize.org/nobel_prizes/themes/peace/doyle/ index.html.