ศึกษาการส่งเสริมสุขภาพจิตของคนไทยด้วยหลักไตรลักษณ์

ผู้แต่ง

  • ศิริลักษณ์ วรไวย์

คำสำคัญ:

การส่งเสริม, สุขภาพจิต, หลักไตรลักษณ์

บทคัดย่อ

     บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักไตรลักษณ์และสภาพปัญหาสุขภาพจิตของคนไทยในปัจจุบัน และ 2) ศึกษาวิเคราะห์การนำหลักไตรลักษณ์ไปใช้ส่งเสริมสุขภาพจิตของคนไทยในปัจจุบัน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาวิเคราะห์

     ผลการศึกษาพบว่า ไตรลักษณ์ในพระพุทธศาสนา หมายถึง ลักษณะสามัญ 3 ประการ ของสรรพสิ่งทั้งปวง ซึ่งเป็นกฎความจริงของธรรมชาติ ครอบงำสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ประกอบด้วย 1) อนิจจตา ความไม่คงที่ 2) ทุกขตา ความเป็นทุกข์ของสิ่งทั้งปวง คือ ความทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ 3) อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตัวตน ไตรลักษณ์เป็นหลักธรรมที่ทำให้คนรู้จักปล่อยวาง ไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต และสามารถทนต่อสภาพนั้นได้อย่างไม่เป็นทุกข์ ปัญหาด้านสุขภาพจิตของคนไทยนับวันจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี สาเหตุมาจากความต้องการหรือความอยากเพื่อสนอง กิเลสตัณหาของตนเมื่อไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ จึงทำให้สังคมสับสนวุ่นวาย แก่งแย่ง และเอารัดเอาเปรียบกัน

     การนำหลักไตรลักษณ์สำหรับส่งเสริมสุขภาพจิตของคนไทยในปัจจุบัน มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อสังคมไทย เป็นการมุ่งสู่ความเข้าใจในธรรมชาติความจริงเพื่อเตรียมใจยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยการฝึกอบรมจิตใจด้วยการปฏิบัติกิจกรรมธรรมโอสถอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทำให้เกิดปัญญารู้เท่าทันในการแก้ไขปัญหาการดำเนินชีวิตได้ ทำให้มีสุขภาพจิตที่ดีส่งผลต่อสุขภาพร่างกายทั้งต่อตนเอง ครอบครัวและสังคม ควรส่งเสริมสนับสนุนหลักไตรลักษณ์ไปใช้ส่งเสริมสุขภาพจิตของคนไทยให้ทั่วถึงต่อไป

References

พระครูภาวนาโพธิคุณ. (2547). การเมืองดีวิถีพุทธ. ขอนแก่น: หจก. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

พระครูสุวิธานพัฒนบัณฑิต. (2557). พระพุทธศาสนากับสาธารณสุข. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: หจก.โรงพิมพ์นานาวิทยา.

พระพิเชษฐ์ เขมธมฺโม. (2552). ธรรมโอสถ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัทพลัสเพรสจำกัด.

พระมหาสำราญ กมฺมสุทฺโธ.(2555). พุทธรรมกับการพัฒนาทักษะชีวิตในยุคโลกาภิวัตน์. ใน รวมบทความประชุมวิชาการทางพระพุทธศาสนานานาชาติ ครั้งที่ 8 เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก. กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

พระมหาสุนันท์ จนฺทโสภโณ. (2549). การศึกษาคำสอนเรื่องไตรลักษณ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระวรรณดี โชติธมฺโม. (2546). การศึกษาวิเคราะห์อิทธิพลของไตรลักษณ์ ต่อทัศนคติเกี่ยวกับชีวิตและความตาย: กรณีศึกษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลกำปงจาม ประเทศกัมพูชา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พินิจ ลาภธนานนท์. (2556). ประเด็นสุขภาพในพระไตรปิฏก. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พุทธทาสภิกขุ. (2541). คู่มือมนุษย์ฉบับสมบูรณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สุขภาพใจ.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สรัญญา กุมพล. (2554). การศึกษาสมาธิกับการเผชิญความตายอย่างสงบในผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามคัมภีร์พระพุทธศาสนา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์ และคณะ. (2553). สถานการณ์สุขภาพจิตคนไทย: ภาพสะท้อนสังคม. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31