การศึกษาเปรียบเทียบความจริงของพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ:
ความจริง, พระพุทธศาสนา, วิทยาศาสตร์, การพิสูจน์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความจริงในมุมมองของพระพุทธศาสนา 2) ศึกษาความจริงในมุมมองของวิทยาศาสตร์ 3) เปรียบเทียบความจริงระหว่างพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ด้วยการศึกษาพระไตรปิฎก เอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนาและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่า มุมมองของพระพุทธศาสนาการเข้าถึงความจริงคือทุกคนทุกสิ่งจะต้องปฏิบัติตามสิ่งธรรมชาติที่กำหนดให้เป็นไปตามสภาพความเป็นจริงได้ว่าเริ่มจากการเรียนรู้กับสิ่งที่เป็นจริงรับรู้จากสิ่งที่เป็นจริง ความรู้ทั้งหมดจะเกิดขึ้นโดยอาศัยเหตุและผลเป็นองค์ประกอบให้ได้มาซึ่งปัญญาอันเกิดจากความจริงตามหลักอริยสัจ
ภาพรวมความจริงของวิทยาศาสตร์สามารถกระทำเป็นวิธีการได้มี 5 กระบวนการ คือ การตั้งปัญหา การตั้งสมมติฐาน การสังเกตและทดลอง การวิเคราะห์ และการสรุปผล
ความจริงของพระพุทธศาสนา เน้นกฎเกณฑ์ธรรมชาติของจิต การทำงานของจิต มีกฎเกณฑ์โดยเฉพาะของจิต การเกิดดับของจิตเป็นไปอย่างรวดเร็ว จิตออกรับอารมณ์ทีละอย่าง กรรมนิยาม กฎแห่งกรรม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ผู้ใดทำกรรมผู้นั้นจะได้รับผลกรรม เป็นต้น พระพุทธศาสนาส่วนมากรับความจริงที่เป็นสภาวะหรือนามธรรม และจุดเป้าหมายสูงสุดคือนิพพาน ส่วนความจริงทางวิทยาศาสตร์ เน้นกฎของวัตถุที่ประสาทสามารถสัมผัสได้ เน้นความจริงและยอมรับการทำงานของสสาร ไม่สามารถพิสูจน์ธรรมชาติของจิตวิญญาณได้ ไม่สามารถพิสูจน์นามธรรมให้เห็นประจักษ์ได้
References
คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2551). งานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ประเวศ วะสี. (2554). ธรรมชาติของสรรพสิ่ง การเข้าถึงความจริงทั้งหมด. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: กรีน.
พร รัตนสุวรรณ. (2536). พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักค้นคว้าทางวิญญาณ.
สมภาร พรมทา. (2547). มนุษย์กับศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2550). พุทธศาสนาในฐานะของวิทยาศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหธรรมิก จำกัด.
พระมหานิพนธ์ ปญฺญาปสุโต. (2546). ทุกขตาในพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์. ใน ปรัชญาปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.