การศึกษาวิเคราะห์จริยธรรมของนักการเมืองไทยตามหลักพุทธธรรม

ผู้แต่ง

  • สิริ ศุภผล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

จริยธรรม, นักการเมือง, หลักพุทธธรรม

บทคัดย่อ

     บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาจริยธรรมสำหรับนักการเมืองตามหลักพุทธธรรม และจริยธรรมของนักการเมืองไทยตามประมวลจริยธรรม และ 2) สังเคราะห์จริยธรรมของนักการเมืองไทยตามประมวลจริยธรรมกับหลักพุทธธรรม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาวิเคราะห์

     ผลการศึกษาพบว่า ประมวลจริยธรรมของสมาชิกรัฐสภาไทยซึ่งเป็นนักการเมืองไทยในระดับชาติจากข้อบังคับสภาผู้แทนราษฎรว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการ พ.ศ. 2553 และ ข้อบังคับวุฒิสภา ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการ พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นประมวลจริยธรรมของนักการเมืองไทย พบว่า มีประเด็นทางจริยธรรม รวมทั้งสิ้น 32 ข้อ สรุปได้ว่า มีจริยธรรมตามประมวลจริยธรรมที่นักการเมืองไทยพึงยึดถือปฏิบัติต่อตนเอง จำนวน 12 ข้อ ต่อผู้อื่น จำนวน 9 ข้อ และต่อสังคม จำนวน 11 ข้อ

     จริยธรรมสำหรับนักการเมืองตามหลักพุทธธรรมและจริยธรรมของนักการเมืองไทยตามประมวลจริยธรรม ปรากฏผลว่า มีความสอดคล้องกันทั้งในด้านต่อตนเอง ด้านต่อผู้อื่น และด้านต่อสังคม แม้ว่าในประมวลจริยธรรมจะนำเสนอข้อความกว้างๆ ก็ตาม แต่เมื่อนำคำนิยามจากพจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 มาเป็นกรอบแนวคิดแล้ว ก็สามารถวิเคราะห์ความสอดคล้องกันได้

References

กรมการศาสนา. (2551). ประวัติกรมการศาสนาและการศาสนาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ประเสริฐ ประคุณศึกษาพันธ์. (2552). จริยธรรมที่พึงประสงค์สำหรับนักการเมืองไทย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). รัฐศาสตร์แนวพุทธ ตอน จริยธรรมนักการเมือง. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

อุทิศ บัวศรี. (2552). การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.

คมชัดลึก. (2556). พระสมณทูตผู้นำพระพุทธศาสนาสู่'สุวรรณภูมิ. สืบค้น 24 มีนาคม 2562, จาก https://www.komchadluek.net/amulet/172284.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-15