การศึกษาเชิงวิเคราะห์ตำนานพระธาตุเจดีย์อีสาน
คำสำคัญ:
ตำนาน, พระธาตุเจดีย์, อีสานบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการเขียนตำนานพระธาตุเจดีย์อีสาน 2) ศึกษาเนื้อหาสาระในตำนานพระธาตุเจดีย์อีสาน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่า วิธีเขียนตำนานพระธาตุ โครงเรื่อง มี 2 แบบ คือ (1) มีการกล่าวถึงการเสด็จมาของพระพุทธเจ้า และ (2) การไม่เสด็จมาของพระพุทธเจ้า และโครงเรื่องส่วนใหญ่สอดคล้องกับทฤษฎีโครงสร้างนิทานของ วลาดิมีร์ พรอปป์ (Vladimir Propp) คือ คนอื่นให้สิ่งของกับพระเอก สิ่งของเป็นสาเหตุให้พระเอกเดินทางไปอีกเมืองหนึ่ง กล่าวคือ พระอรหันต์ได้รับพระธาตุ พระธาตุเป็นสาเหตุให้พระอรหันต์เดินทางไปอีกเมืองหนึ่ง
เนื้อหาสาระในตำนานพระธาตุเจดีย์อีสาน มีการกล่าวถึงพุทธประวัติอยู่ 3 ฉบับ ไม่กล่าวถึงพุทธประวัติ 7 ฉบับ มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอยู่ 9 ฉบับ และมีการกล่าวถึงสังคมและวัฒนธรรมอีสานอยู่ 9 ฉบับ ได้กล่าวถึงประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาว่า พระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ในดินแดนอีสานตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว เพราะพระพุทธองค์ได้เสด็จมาอีสานพร้อมพระอานนท์เมื่อครั้งเสด็จที่ภูกำพร้า และประทับรอยพระบาทให้พญานาคบูชา พร้อมกับประทับรอยพระบาทถวายพระยาสุวรรณภิงคาร ที่พระธาตุเชิงชุม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น บอกถึงเมืองโบราณอีสานและอีสานสมัยประวัติศาสตร์ว่ามีความสัมพันธ์กันฉันญาติมิตร สังคมและวัฒนธรรม เป็นสังคมเกษตร และถือศีลอุโบสถทุกวันพระ และให้ทานตามฤดูกาลผลิตผลทางการเกษตร ใส่บาตรพระสงฆ์ทุกเช้า
References
โบราณคดีสโมสร. (2457). ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทย.
ปฐม หงส์สุวรรณ. (2539). ตำนานพระธาตุของชนชาติไท: ความสำคัญและปฏิสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนากับความเชื่อดั่งเดิม. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
พระเทพรัตนโมลี (แก้ว). (2512). อุรังคนิทาน: ตำนานพระธาตุพนม. กรุงเทพฯ: เฟื่องอักษร.
ภัสราภรณ์ เทศธรรม. (2529). การศึกษาตำนานพระธาตุประจำปีเกิด. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
วิโรฒ ศรีสุโร. (2525). ธาตุอีสาน. ขอนแก่น: เมฆาเพรช.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2531). แอ่งอารยธรรมอีสาน. กรุงเทพฯ: พิฆเณศ พริ้นติ้งเซ็นเตอร์.
ส. พลายน้อย. (2535). สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: อักษรพิทยา.