การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินของการเลี้ยงกุ้งขาวระบบไบโอซีเคียว ในจังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • วสวัตต์ วานิชวิริยกิจ ผู้จัดการแผนกซัปพลายเชนย์, ครัวเจริญโภคภัณฑ์

คำสำคัญ:

ผลตอบแทนทางการเงิน, การเลี้ยงกุ้งขาว, ระบบไบโอซีเคียว

บทคัดย่อ

     บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินของการลงทุนเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม แบบระบบไบโอซีเคียว และ 2) วิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการ ในการลงทุนเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมแบบระบบไบโอซีเคียว เมื่อปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญในจังหวัดจันทบุรีเปลี่ยนแปลงไป เมื่อปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญเปลี่ยนแปลงไป ในจังหวัดจันทบุรี โดยใช้แบบสอบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาวระบบไบโอซีเคียว จำนวน 5 ฟาร์ม กำหนดให้อัตราคิดลดเท่ากับร้อยละ 3.40 ต่อปี

     ผลการศึกษาพบว่า  มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ของการลงทุนเลี้ยงกุ้งขาวระบบไบโอซีเคียว มีค่าเท่ากับ 37,916,926 บาท อัตราส่วนมูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนต่อต้นทุน (BCR) มีค่าเท่ากับ 2.1257 อัตราผลตอบแทนภายในโครงการ (IRR) มีค่าเท่ากับร้อยละ 135 จะเห็นได้ว่า NPV เป็นบวก หมายถึงการลงทุนเลี้ยงกุ้งขาวในระบบไบโอซีเคียวให้ผลตอบแทนคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิสูงกว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตลอดอายุโครงการ อัตราส่วนมูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนต้นทุน มากกว่าหนึ่ง และอัตราผลตอบแทนภายในโครงการสูงกว่าอัตราคิดลด แสดงว่าการลงทุนให้ผลตอบแทนคุ้มค่า

     สำหรับผลการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการทั้งกรณีของการเพิ่มขึ้นของต้นทุนหรือการลดลงของราคาขาย การเลี้ยงกุ้งขาวในระบบดังกล่าวยังคุ้มค่าต่อการลงทุน ซึ่งความเสี่ยงที่มีผลกระทบมากที่สุด คือ การลดลงของราคากุ้ง ต้นทุนค่าอาหารที่ดพิ่มขึ้น และค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้น ตามลำดับ

References

กลุ่มวิจัยและวิเคราะห์สถิติการประมง กรมประมง. (2562). สถิติผลผลิตการเลี้ยงกุ้งทะเล ประจำปี 2560. กรุงเทพฯ: กลุ่มวิจัยและวิเคราะห์สถิติการประมง กรมประมง.

คมชัดลึก. (2554). ว.ประมงติณสูฯ ยกระดับ "กุ้งไทย" หนุนใช้ระบบ "ไบโอซีเคียว" คุมโรค. สืบค้น 24 มกราคม 2562, จาก http://www.komchadluek.net/detail/20110201/87436/ว.ประมงติณสูฯยกระดับกุ้งไทยหนุนใช้ระบบไบโอซีเคียวคุมโรค.html.

ธนาณัติ กล้าหาญ และคณะ. (2559). การวิเคราะห์ต้นทุนขนส่งของการเลี้ยงกุ้งขาวในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 11(2), 137-146.

นัชยา นาไชย์. (2547). วิเคราะห์ทางการเงินของการลงทุนเลี้ยงกุ้งขาวในจังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ประเสริฐ ตรงเจริญเกียรติ. (2546). การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินในการลงทุนเลี้ยงกุ้งกุลาดำ : จังหวัดฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

Agriculturethai. (2551). เกษตรทั่วไทย : พัฒนาสายพันธุ์ ทางรอดอุตสาหกรรมกุ้งไทย. สืบค้น 24 มกราคม 2562, จาก https://agriculturethai.wordpress.com/tag/.

Tran, L., L. Nunan, R.M. Redman, L.L. Mohney, C.R. Pantoja, K. Fitzsimmons and D. V. Lightner. (2013). Determination of the infectious nature of the agent of acute hepatopancreatic necrosis syndrome affecting penaeid shrimp. Diseases of Aquatic Organisms. 105(1), 45–55.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-15