วิเคราะห์คุณค่าเศรษฐกิจในกูฏทันตสูตร
คำสำคัญ:
คุณค่า, เศรษฐกิจ, กูฏทันตสูตรบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นมาระบบเศรษฐกิจในกูฏทันสูตร และ 2) วิเคราะห์คุณค่าระบบเศรษฐกิจในกูฏทันตสูตร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่า ระบบเศรษฐกิจในกูฏทันตสูตร พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้เว้นการทารุณต่อสัตว์น้อยใหญ่ด้วยการบูชายัญ ซึ่งเป็นการบ่งบอกกุศลและสิ่งเปรียบเทียบทรัพยากรธรรมชาติ ที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยตรง แต่ทรงแนะนำให้ทำการบูชายัญแบบพุทธด้วยการงดเว้นการฆ่าสัตว์ และทำลายสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ส่งเสริมให้บูชายัญด้วยวิธีการสงเคราะห์ประชาชนทุกระดับชั้น ด้วยการมอบทุนการเกษตร ทุนทางการค้าขาย และให้กำลังใจข้าราชการเพื่อประกอบอาชีพสุจริต จึงเป็นการพัฒนาระบบเศรษฐกิจให้ยั่งยืน เน้นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดคุณค่าสูงสุด และสนองความต้องการอย่างทั่วถึง
ส่วนคุณค่าระบบเศรษฐกิจในกูฏทันสูตรนั้น เมื่อประชาชนได้รับการสงเคราะห์อย่างทั่วถึงแล้วก็ส่งผลให้ระบบการปกครองเป็นไปได้ด้วยดี ไม่มีความขัดสน ลดปัญหาการเบียดเบียนกัน ไม่มีโจรผู้ร้ายเกิดขึ้น เพราะต่างก็ขวนขวายในการประกอบอาชีพตามความถนัดของตน และสร้างเสริมความเจริญทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนต่อเนื่อง ทำให้บ้านเมืองเจริญก้าวหน้า ก่อให้เกิดสันติสุขอย่างยั่งยืน
References
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2548). เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2559). เศรษฐศาสตร์การเมืองเชิงพุทธ: การจัดการความขัดแย้งผ่านมิติการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ. สืบค้น 24 มกราคม 2564. จาก http://oldweb.mcu.ac.th/site
/articlecontent_desc.php?article_id=1208 &articlegroup_id=187.
ศันสนีย์ ชุมพลบัญชร. (2559). กูฏทันตสูตรกับการจัดการเศรษฐศาสตร์มหภาค. วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา, 2(2), 109-165.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2540). องค์ประกอบที่ทำให้สมบูรณ์. สืบค้น 24 มกราคม 2564. จาก http://www.dharma-gateway.com/ubasok/ sucheep/sucheep-09.htm.
อดิศักดิ์ ทองบุญ. (2547). วิเคราะห์มหายัญในกูฏทันตสูตร. สืบค้น 24 มกราคม 2564. จาก http://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=212&articlegroup_id=60.
Puntarigvivat, T. (2013). Thai Buddhist Social Theory. Bangkok: Sahadhammika Co.,Ltd..