การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องความสุขของปรัชญาลัทธิเต๋า

ผู้แต่ง

  • เทวฤทธิ์ ศรีใชยพล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความสุข, ปรัชญา, ลัทธิเต๋า

บทคัดย่อ

     บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติและแนวคิดทางปรัชญาของลัทธิเต๋า 2) วิเคราะห์แนวคิดเรื่องความสุขของปรัชญาลัทธิเต๋า การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ด้วยการศึกษาพระไตรปิฎก เอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนาและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาวิเคราะห์

     ผลการศึกษาพบว่า ลัทธิเต๋าเกิดขึ้นจากแนวคิดของเล่าจื้อ มีสูตรที่ว่าด้วยคุณสมบัติของเต๋า พบว่า เอกภาพนี้มีพลังหรือ อำนาจตรงกันข้ามอยู่ 2 อย่าง คือ 1) หยาง 2) หยิน แนวคิดทางจริยศาสตร์ในปรัชญาเต๋า สำหรับปฏิบัติแต่ละบุคคลในระดับต่างๆ เพื่อเกิดความสุขกับตนเอง ผู้อื่น และสังคม แนวคิดทางอภิปรัชญาของลัทธิเต๋า เป็นต้นกำเนิดของสรรพสิ่ง และเป็นจุดหมายที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะกลับไปสู่ หลักการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความหลุดพ้น

     หลักการปฏิบัติสู่ความสุขในด้านสังคมนั้น เล่าจื้อได้สอนให้รู้จักตนเองทางสังคม คือให้รัฐหรือผู้ปกครอง จะต้องปกครองด้วยระบบเสรีนิยมคู่กับธรรมชาตินิยม ด้วยการให้เสรีภาพแก่ประชาชนเต็มที่ในการดำเนินชีวิต และให้สอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติ ระดับความสุขในทรรศนะของเล่าจื้อ ที่เป็นระดับจริยธรรมประกอบด้วยการรู้จักสิ่งที่มีอยู่ภายนอกคือสังคม สิ่งแวดล้อม และสิ่งที่มีอยู่ภายในกายและจิต ต้องรู้จักปรับตนเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อม จึงจะชื่อว่าการปฏิบัติเพื่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม

References

ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์. (2545). ศาสนาและปรัชญาในจีน ทิเบต และญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

ทองสด เฆมเมืองทอง. (2529). เต๋าคือเต๋า. กรุงเทพฯ: รุ่งแสงการพิมพ์.

พระครูวิสุทธิสุตคุณ (สายชล สุภาจาโร). (2550). ประวัติพระพุทธรูปทองคำ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วัดไตรมิตรวิทยาราม.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2538). พุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

_______. (2544). แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: กองทุนวุฒิธรรม.

พระราชวรมุนี (ป.อ.ปยุตฺโต). (2518). พจนานุกรมพุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เสถียร โพธินันทา. (2532). เมธีตะวันออก. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ก. ไก่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-15