พัฒนาการของการอธิบายคำสอนทางพระพุทธศาสนาผ่านบทกลอนผญาอีสาน

ผู้แต่ง

  • พระครูสิริสุตาภรณ์ (วีระ กิตฺติวณฺโณ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พัฒนาการ, คำสอนทางพระพุทธศาสนา, บทกลอนผญาอีสาน

บทคัดย่อ

     บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทกลอนผญาอีสานในบริบทสังคมอีสาน และ 2) ศึกษาการพัฒนาการของการอธิบายคำสอนทางพระพุทธศาสนาผ่านบทกลอนผญาอีสาน โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาเขียนเป็นรายงานการวิจัยด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงพรรณา

     ผลการศึกษาพบว่า บทกลอนผญาอีสานในบริบทสังคมอีสานนั้น ประกอบด้วย บทกลอนคำสอนโบราณอีสาน บทกลอนผญาภาษิตโบราณอีสาน บทกลอนผญาเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว บทกลอนผญาอวยพร บทกลอนปัญหาภาษิต คำพังเพย คำคม คารมของนักปราชญ์ ประมวลนานาสุภาษิตคำกลอน บทกลอนคติธรรมสอนใจ ซึ่งเรียกว่า ปรัชญาอีสานบ้าง ของดีอีสานบ้าง มรดกอีสานบ้าง ผญาภาษิตอีสานบ้าง ทั้งนี้ เพื่อให้ชาวอีสานได้ศึกษา เรียนรู้ และนำไปประพฤติ ปฏิบัติตาม และเพื่อให้ชีวิตของตนดำเนินไปด้วยดี

     ส่วนการพัฒนาการของการอธิบายคำสอนทางพระพุทธศาสนาผ่านบทกลอนอีสานนั้น ประกอบด้วย บทกลอนผญาเกี่ยวกับการสอนให้รู้จักบุญคุณของบุพพการีชน การสอนให้รู้จักบุญคุณของครู อาจารย์ บทการสอนให้สามี ภรรยา รู้จักรักกัน ช่วยเหลือกันไปตลอด การสอนไม่ให้เป็นคนลืมตัวเอง การสอนให้รู้จักความขยัน หมั่นเพียรในการทำงานต่างๆ การสอนให้รู้จักในการพึ่งพาอาศัยกัน การสอนให้รู้จักการคบแต่บัณฑิต อย่าคบคนพาลและคนชั่ว การสอนให้รู้จักตนเอง เตือนตนเอง ปรับปรุงแก้ไขตนเอง การสอนให้รู้จักการศึกษาเล่าเรียน การสอนให้รู้จักการทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา และการสอนให้รู้จักการไม่ติฉิน นินทาคนอื่นและสัตว์อื่นๆ ให้ดูตัวเองว่า ตัวเองเป็นคนดี มีศีล ธรรมดีมากน้อยเพียงใดเป็นที่ยอมรับของคนในสังคมอีสานมากน้อยเพรียงใด

References

ปรีชา พิณทอง. (2528). ไขผญา โบราณอีสาน. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์ศิริธรรมออฟเช็ท.

พรสวรรค์ สุวรรณศรี. (2547). การวิเคราะห์คุณค่าการดำรงอยู่และการสืบทอดผญาอีสาน. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

พระครูปลัดพีระพันธ์ ธมฺมวุฑฺโฒ. (2562). ผญาอีสานที่มีผลต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรม. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(1), 1-12.

พระมหาไสว ฤทธิ์วิชัย. (2560). ผญา: การตีความตามทฤษฎีภาษาคนภาษาธรรม. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 1(3), 139-154.

พระอารย์ กตปุญฺโญ (สารชุม). (2551). การศึกษาหลักธรรมสำหรับผู้ครองเรือนในพระพุทธศาสนาที่ปรากฎในบทผญาอีสาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

สวิง บุญเกิด. (2537). ผญา. อุบลราชธานี: มรดกอีสาน.

อดิศร เพียงเกษ. (2544). หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เรื่อง บุญ-บาปที่ปรากฏในผญาอีสาน. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-15