วิเคราะห์การเข้าถึงความสุขของผู้เป็นหนี้ตามหลักโภควิภาค 4
คำสำคัญ:
ความสุข, ผู้เป็นหนี้, หลักโภควิภาค 4บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) .ศึกษาความรู้ทั่วไปที่ว่าด้วยเรื่องของหนี้ และ 2) ศึกษาวิเคราะห์วิธีปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความสุขของผู้เป็นหนี้ตามหลักโภควิภาค 4 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่า ความรู้ทั่วไปที่ว่าด้วยเรื่องของหนี้ สภาพชีวิตของคนเราบางคนมีความผูกพันอยู่กับหนี้ที่ตนสร้างไว้อย่างไม่จบสิ้น สาเหตุหลักของการเป็นหนี้ คือ พฤติกรรมบริโภคนิยมและอบายมุข ผู้ที่เป็นหนี้เงินกู้ตามหลักกฎหมาย ประเภทหนี้ในระบบ มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ทำให้ชีวิตผู้เป็นหนี้มีความทุกข์และมีผลกระทบต่อ สังคม เศรษฐกิจ หากผู้เป็นหนี้สามารถบริหารสินเชื่อหรือเงินกู้เพื่อการบริโภคของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมเข้าถึงความสุขในชีวิตได้
วิธีการเข้าถึงความสุขของผู้เป็นหนี้ตามหลักโภควิภาค 1) การใช้จ่ายทรัพย์ ให้มีการวางแผนการใช้อย่างพอประมาณ มองเห็นคุณค่าด้วยปัญญาว่าเพื่อให้เกิดคุณภาพหรือประโยชน์แก่ชีวิตอย่างแท้จริง โดยใช้หลักสันโดษ 3 มาสนับสนุนแนวปฏิบัติ 2) การออมทรัพย์ ต้องมีการใช้จ่ายอย่างประหยัดเพราะการใช้จ่ายอย่างประหยัดทำให้มีเงินเหลือเก็บทำให้สามารถเก็บออมเงินไว้ใช้ได้ให้ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต และใช้หลักจักร 4 มาสนับสนุนแนวการปฏิบัติตน (3) การลงทุน ใช้ทรัพย์ส่วนที่ 3, 4 เพื่อการลงทุน จะทำให้ทรัพย์เพิ่มพูนขึ้น พระพุทธศาสนายังมีหลักปาปณิกธรรม สำหรับนักลงทุนที่ดี คือ จักขุมา มีวิสัยทัศน์ดี วิธูโร มีความชัดเจนในธุรกิจดี และนิสสยสัมปันโน มีความพร้อมเรื่องเงินทุนและปัจจัยการผลิต และใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ 4 มาส่งเสริมให้การลงทุน จะทำให้ได้รับผลสำเร็จและเกิดความสุขในชีวิตได้ในที่สุด
References
จิ๊ด เศรษฐบุตร. (2541). หลักกฎหมายแพ่งลักษณะหนี้. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธรรมปราโมทย์ (2535). สุขกายสุขใจ : ในสังคมที่วุ่นวาย. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2545). เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เม็ดทราย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). คติธรรมแห่งชีวิต. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
พระไพศาล วิสาโล. (2553). ก้าวสู่ชีวิตใหม่ สุขใจในร่มธรรม. นนทบุรี: บี มีเดีย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สามารถ เตจ๊ะวงค์. (2545). ค่านิยมและพฤติกรรมในการดำรงชีวิตของข้าราชการครูที่มีหนี้สิ้น. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). สรุปผลที่สำคัญการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติสังคม.