การบูชาพระธาตุเจดีย์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • พระครูพิมลธรรมาภรณ์ (ศรีจันทร์ก่ำ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบูชา, พระธาตุเจดีย์, คัมภีร์พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

     บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพระธาตุเจดีย์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) ศึกษาการบูชาพระธาตุเจดีย์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาวิเคราะห์

     ผลการศึกษาพบว่า พระธาตุเจดีย์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา คือ สิ่งก่อสร้างเป็นทรงสูง มียอดแหลม ซึ่งก่อไว้สำหรับบรรจุพระบรมสาริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระอัฐิธาตุ (กระดูก) ของพระพุทธเจ้า เพื่อเป็นที่ระลึกควรแก่การไปกราบสักการะบูชาที่เป็นศูนย์รวมจิตใจ พระเจดีย์ในพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ (1) พระธาตุเจดีย์ (2) ธรรมเจดีย์ (3) อุเทสิกเจดีย์ (4) บริโภคเจดีย์ ความสำคัญของพระธาตุเจดีย์คือเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและเป็นสังเวชนียสถาน

     การบูชาพระธาตุเจดีย์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา คือ การแสดงความเคารพนับถือหรือสักการะต่อพระพุทธเจ้า พระสงฆ์ และพระธรรม อันเป็นสิ่งที่ทรงคุณค่าต่อชีวิต เป็นการแสดงออกถึงความศรัทธาในสิ่งที่ตนเคารพนับถือ ด้วยสิ่งของบ้าง ด้วยการแสดงออกบ้าง ความสำคัญของการบูชา เป็นลักษณะของการยกย่องเชิดชูด้วยความบริสุทธิ์ใจ แสดงถึงคุณความดี การบูชาจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนควรปฏิบัติต่อกัน เป็นการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน สอนให้มนุษย์ทำการบูชาบุคคลที่ควรบูชาและวัตถุที่ควร ควรบูชาพระรัตนตรัยยึดมั่นในคุณพระรัตนตรัยเป็นหลัก คุณค่าของการบูชาพระธาตุเจดีย์ มีดังนี้ (1) เป็นที่สักการะเคารพในฐานะถาวรวัตถุ (2) เป็นศูนย์รวมใจของชาวพุทธ (3) เป็นที่แสวงบุญและสักการะเคารพ (4) เป็นสัญลักษณ์การทำนุบำรุงและสืบทอดพระพุทธศาสนา (5) เป็นปูชนียสถานโบราณวัตถุของชาวพุทธ คุณค่าการบูชาเป็นเหตุให้เกิดขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมต่าง ๆ แสดงออกถึงการบูชา ทางกาย วาจา และทางใจ เพราะทำให้ผู้ที่ทำการบูชาสักการะพระธาตุเจดีย์ ได้รับความสุขกายสบายใจอยู่เสมอ

References

น. ณ ปากน้ำ. (2530). พจนานุกรมศิลป์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

พระมหาประสพฤกษ์ จารุวาโท (รัตนยงค์). (2550). การศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวความคิดเรื่องการบูชาในพระพุทธศาสนา. (วิทยานิพนธ์พพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระมหาสมชาย ธีรปภาโส (บุญเกลี้ยง). (2546). การศึกษาเชิงวิเคราะห์ความเชื่อเรื่องพระบรมสารีริกธาตุในสังคมไทย. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระมหาหมวด สุกฺกธมฺโม. (2547). การศึกษาวิเคราะห์แนวความคิดเรื่องความเคารพในพระพุทธศาสนา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระอริยานุวัตร เขมาจารีเถระ. (2536). คติความเชื่อของชาวอีสาน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2556). ศิลปะล้านนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มติชน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-15