การศึกษาวิเคราะห์เรื่องการทุจริตในพระพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
มูลเหตุ, การทุจริต, พระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามูลเหตุที่มีผลต่อการทุจริตในพระพุทธศาสนา และ 2) ศึกษาวิเคราะห์การป้องกันการทุจริตในพระพุทธศาสนา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสารด้วยการศึกษาข้อมูลในพระไตรปิฎก อรรถกถา เอกสารวิชาการทั้งที่เป็นหนังสือและตำราทางพระพุทธศาสนาและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการพรรณนาเชิงวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่า อำนาจของกิเลส ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ เป็นตัวก่อกำเนิดเป็นมูลเหตุให้เกิดการทุจริต เป็นอกุศลกรรม โลภะคือความอยากได้ โทสะคือความคิดประทุษร้าย โมหะคือความหลงที่ครอบงำจิตใจของแต่ละบุคคล การทุจริตคือการประพฤติชั่ว มี 3 ทาง ได้แก่ กายทุจริตคือความประพฤติชั่วด้วยกาย วจีทุจริตคือความประพฤติชั่วด้วยวาจา มโนทุจริตคือความประพฤติชั่วด้วยใจ
การป้องกันการทุจริตในพระพุทธศาสนา ก็โดยการประพฤติสุจริตปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้แก่พระธรรมพระวินัยและใช้กิจกรรมพิธีกรรมทางพุทธศาสนามายึดถือปฏิบัติ และยังใช้บทลงโทษจากกฎหมายที่สังคมกำหนดขึ้น จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริต หิริโอตตัปปะทำให้คนเกิดความละอายบาปเกรงกลัวบาป สติสัมปชัญญะทำให้มีความรู้สึกตัวในขณะทำอยู่ ผู้มีสติสัมปชัญญะย่อมรู้ถึงโลกธรรม 8 ได้แก่ ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศนินทา สรรเสริญ สุข และทุกข์ สันโดษทำให้ไม่ปรารถนาเกินไม่อยากได้มากเกินไป มีความยินดีพอใจด้วยของตนซึ่งได้มาด้วยเรี่ยวแรงความเพียรโดยชอบธรรมไม่โลภไม่ริษยาใครมีความพอดีไม่เบียดเบียนตนเองไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ขันติทำให้มีความอดทนอดกลั้นทนลำบากทนตรากตรำทนเจ็บใจความหนักเอาเบาสู้อดทนต่อกิเลสเพื่อบรรลุจุดหมายที่ดีงาม การสมาคมกับสัตบุรุษคือการคบกับคนที่ดีมีคุณธรรมย่อมชักนำให้เป็นคนดีประพฤติสุจริตไปด้วยกัน
References
คมชัดลึก. (2556). ‘พงศ์เทพ’ เปิดศูนย์ต่อต้านทุจริต 35 หน่วยงานรัฐ. สืบค้น 24 ตุลาคม 2563. จาก http://www.komchadluek.net/detail/20130724/164180/.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: บริษัทธนธัชการพิมพ์ จำกัด.
พิเชฐ ทั่งโต. (2559). พุทธธรรมกับการป้องกันปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทย. วารสารจันทรเกษมสาร, 22(43), 1-15.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.