การศึกษาพัฒนาการการสอบอารมณ์วิปัสสนากัมมัฏฐานในพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • พระประเสริฐศักดิ์ รตนญาโณ (ตันติชุฬา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การสอบอารมณ์, วิปัสสนา, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

     บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดความสำคัญของอารมณ์วิปัสสนากัมมัฏฐานในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) ศึกษาพัฒนาการการสอบอารมณ์วิปัสสนากัมมัฏฐานในพระพุทธศาสนา: กรณีสายพองหนอ-ยุบหนอ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพเน้นศึกษาในเชิงเอกสาร โดยการรวบรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา เอกสารที่เกี่ยวข้อง รวบรวมนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์อธิบายในเชิงพรรณนา

     ผลการศึกษาพบว่า อารมณ์วิปัสสนากัมมัฏฐาน หมายถึง สิ่งที่ยึดหน่วงจิตให้เกิดปัญญา ได้แก่ วิปัสสนาภูมิ 6 คือ ขันธ์ 5, อายตนะ 12, ธาตุ 18, อินทรีย์ 22, อริยสัจ 4, ปฎิจจสมุปบาท 12, วิปัสสนาภูมิ 6 จัดลงในหลักมหาสติปัฏฐาน 4 ย่อลง คือ อารมณ์รูป-นาม โดยหลักสำคัญของอารมณ์วิปัสสนากัมมัฏฐาน เป็นการเจริญสติกำหนดอยู่ที่รูป-นาม ที่มิใช่ตัวตนเราเขาเป็นอารมณ์

     พัฒนาการการสอบอารมณ์วิปัสสนากัมมัฏฐานแบบพองหนอ-ยุบหนอในประเทศไทย ได้รับอิทธิพลมาจากร่องรอยแนวทางการสอบอารมณ์ของพระพุทธองค์โดยตรง เช่น อนัตตลักขณสูตร จูฬปันถกสูตร เป็นต้น และแนวทางการปฏิบัติของพระอาจารย์โสภณมหาเถระอัครมหาบัณฑิต หรือพระอาจารย์มหาสีสะยาดอร์ ซึ่งเป็นชาวพม่าผู้ประยุกต์วิธีการเจริญวิปัสสนาให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยอาศัยการฝึกสติที่เข้าไปตั้งมั่นอยู่ในวาโยธาตุ (ท้องพอง-ท้องยุบ) ตามหลักสติปัฏฐาน 4 และเมื่อปีพุทธศักราช 2495 พระธรรมธีรราชมุนี (โชดก ญาณสิทธิ, ป.ธ.9) ได้ไปศึกษาแนวทางปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ณ สำนักปฏิบัติธรรมวิปัสสนาสาสนยิตสา นครย่างกุ้ง โดยมีพระอาจารย์มหาสีสะยาดอร์เป็นผู้ดูแล ได้ศึกษาสำเร็จตามหลักสูตรวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่านก็เดินทางกลับมาที่ประเทศไทย เพื่อทำหน้าที่เผยแผ่วิปัสสนากัมมัฏฐานตามเจตนารมณ์ของท่านเจ้าคุณสมเด็จอาจ (อาสภมหาเถร) โดยการก่อตั้งวิปัสสนาธุระขึ้นในประเทศไทย ณ วัดมหาธาตุฯ กรุงเทพมหานคร และมีการพัฒนาการสอบวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสายพองหนอ-ยุบหนอ คือ มีวิธีการสอนกำหนดตามหลักสติปัฏฐาน 4 แบบพอง-ยุบ มีวิธีการสอบตามสภาวะญาณ และวิธีการส่งอารมณ์เก็บรายละเอียดมากขึ้น

References

พระครูปลัดสุนทร สุนฺทโร (แซ่เตียว). (2544). หลักปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาแบบพอง-ยุบ. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ). (2550). คู่มือสอบอารมณ์กรรมฐาน. (พิมพ์ครังที่ 5). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

โรงพยาบาลศรีธัญญา. (2556). ป่วยจิตคลุ้มคลั่งเพิ่ม รับมืออย่างไรปลอดภัย. สืบค้น 24 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.dmh.go.th/sty_lib/news/depression/view.asp?id=836.

พระมหาบุญเลิศ ธมฺมทสฺสี และคณะ. (2548). ศึกษาปรากฏการณ์วิธีการสอน ศึกษาปรากฏการณ์วิธีการสอน วิปัสสนากัมมัฏฐานตามหลักสติปัฏฐานสี่ในปัจจุบัน (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-15