การศึกษาพัฒนาการของการฝึกจิตของสำนักปฏิบัติธรรมวัดโพธิ์ บ้านโนนทัน จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
พัฒนาการของการฝึกจิต, สำนักปฏิบัติธรรม, วัดโพธิ์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักการฝึกจิตในพุทธศาสนาเถรวาทและ 2) ศึกษาพัฒนาการของการฝึกจิตของสำนักปฏิบัติธรรมวัดโพธิ์ บ้านโนนทัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แล้วนำมาเขียนเป็นรายงานการวิจัย ด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า การฝึกจิต คือ การปฏิบัติธรรม หรือการพัฒนาจิตให้เจริญงอกงามขึ้นในคุณธรรม ความดีงาม ความเข้มแข็งมั่นคง และความเบิกบานผ่องใส การใช้สมาธิฝึกอบรมจิตใจให้เจริญงอกงามด้วยการใช้สติเป็นตัวควบคุม เป็นการฝึกให้ผู้ปฏิบัติสามารถเข้าใจถ่องแท้ถึงความสัมพันธ์ระหว่าง จิต สติและความคิด ใช้สติกำกับการรับรู้อารมณ์ทางทวารทั้ง 6 ทำให้จิตใจสงบ สว่างและสะอาด เน้นการฝึกสติให้ระลึกรู้ตัวอยู่กับปัจจุบันตลอดเวลาทั้งการยืน เดิน นั่ง และนอน พัฒนาจิต ด้วยหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ประโยชน์การฝึกพัฒนาจิตของตนเอง ด้วยการศึกษาเรื่องสติและฝึกเจริญสติเป็นประจำ
พัฒนาการของการฝึกอบรมจิต สำนักปฏิบัติธรรมวัดโพธิ์ โนนทัน เป็นสำนักที่มีบทบาทในการฝึกอบรมจิตแก่ชาวพุทธทั่วไป จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ ด้วยการจัดอบรมการปฏิบัติธรรมตลอดปีแก่ ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา นักเรียน นิสิต นักศึกษาตลอดถึงประชาชนทั่วไปจำนวนมาก โดยผู้ปฏิบัติที่เป็นคฤหัสถ์ต้องสมาทานศีล ๕ หรือศีล ๘ พร้อมรักษาให้บริสุทธิ์เพื่อให้จิตสงบเกิดสมาธิง่ายขึ้น ใช้แนวทางการกำหนดรู้ตามหลักมหาสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งจะส่งผลให้หลักไตรสิกขา คือศีล สมาธิ ปัญญา เกิดมีแก่ผู้ปฏิบัติเป็นอย่างดี
References
ธนัญชัย รัตนปัญญา. (2532). อนุสรณ์ผูกพันธสีมาวัดโพธิ์. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.
พระครูภาวนาโพธิคุณ (สมชาย กนฺตสีโล). (2548). ธรรมทายาท ชุด 2. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2532). การศึกษาที่สากลบนพื้นฐานแห่งภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2552). พุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาวิโรจน์ วิโรจโน. (2545). การศึกษาเปรียบเทียบความจริงเรื่องจิตในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับจิตในปรัชญาตะวันตก. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.