การเกษตรเชิงพุทธกับแนวทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ

ผู้แต่ง

  • พระครูวินัยธรวรรธนา ญาณวโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระพันธวัฒน์ ธมฺมวฑฺฒโน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาโกวิทย์ พาดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พิพิธธนวดี สมคะเณย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

เกษตรเชิงพุทธ, เศรษฐกิจพื้นฐาน, ปัญหาเศรษฐกิจ

บทคัดย่อ

     บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างเศรษฐกิจพื้นฐานและการแก้ปัญหาของเกษตรชุมชน และหลักพุทธธรรมที่นำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาของเกษตรชุมชนชาวตำบลพระลับ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยศึกษาทั้งในด้านเอกสาร (Documentary Research) และการเก็บข้อมูล การสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย และการสังเกตในภาคสนาม (Field Work) จากกลุ่มเกษตรกรแล้วนำผลมาวิเคราะห์เชิงพรรณนาวิธี

     ผลการศึกษาพบว่า โครงสร้างเศรษฐกิจพื้นฐานของเกษตรกรชุมชนตำบลพระลับ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร มีการจัดรูปแบบการบริหารเป็นกลุ่มเกษตรกรตำบลพระลับ โดยมีประธานและคณะกรรมการ รวมถึงเลขานุการ บริหารงานกลุ่ม มีการส่งเสริมอาชีพเสริมแก่สมาชิกในรูปแบบการส่งเสริมให้เรียนรู้ด้านการเกษตรการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลและส่งเสริมการออมทรัพย์แก่สมาชิก

     การแก้ปัญหาการเกษตรเชิงพุทธ ด้วยการเพิ่มผลผลิต โดยการเรียนรู้การเกษตรแผนใหม่ การให้สวัสดิการแก่สมาชิก มีการนำหลักพุทธธรรมมาใช้ในการแก้ปัญหา เช่น อิทธิบาท ๔ ทิฏฐธรรมมิกัตถะประโยชน์ มีการฝึกอบรมสมาชิกให้เรียนรู้การผลิตสินค้าทางการเกษตรใหม่ๆ เช่น ข้าว การปลูกผักปลอดสารพิษ มีการแปรรูปเป็นสินค้า OTOP ส่วนผักก็หาตลาดรองรับให้ ชุมชนใช้หลักประชุมปรึกษาหารือกัน ระดมความคิด และช่วนกันแก้ปัญหา จึงทำให้นำไปสู่การแก้ปัญหาได้ในระดับที่น่าพอใจ

     กลุ่มสหกรณ์ตำบลพระลับได้นำหลักธรรม ได้แก่ หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์, หลักอิทธิบาท 4, หลักสังคหวัตถุ 4, และหลักโภควิภาค มาประยุกต์ใช้ทำให้ลดปัญหาได้ดีในระดับหนึ่ง

References

ดลพัฒน์ ยศธร. (2542). รูปแบบการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวพุทธศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ไทยพีบีเอส. (2563). มะนาวล้นตลาด ราคาดิ่งลูกละ 15 - 50 สต.. สืบค้น 24 ธันวาคม 2563. จาก https://news.thaipbs.or.th/content/264992.

ธนินท์ ศิริวรรณ. (2555). กระบวนการพึ่งตนเองด้านอาหารและพลังงานของกลุ่มกสิกรรมธรรมชาติสองสลึง ตำบลสองสลึง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ประเวศ วะสี. (2542). เศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม แนวทางพลิกฟื้นเศรษฐกิจสังคม. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2540). เศรษฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

รุ่งทิพย์ ชัยพรม, เกตุมณี มากมี และเสริมศักดิ์ นันทิทรรภ. (2558). กระบวนการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลำไย ตำบลฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย, 6(1), 165-175.

สุจินต์ ชูลักษณ์. (2544). การประเมินผลการฝึกอบรมหลักสูตรเกษตรผสมผสานตามแนวทฤษฎีใหม่. (ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-15