ผ้าผะเหวด : สัญลักษณ์ประเพณีชาวพุทธอีสาน
คำสำคัญ:
ผ้าผะเหวด, สัญลักษณ์, พระพุทธศาสนา, ประเพณีชาวพุทธอีสานบทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสนอเกี่ยวกับผ้าผะเหวด ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ในประเพณีชาวพุทธอีสาน ผลการศึกษาพบว่า ผ้าผะเหวด คือ ผ้าผืนยาวเขียนภาพเล่าเรื่องพระเวสสันดรเพื่อใช้แห่ในงานบุญพระเหวด ผ้าผะเหวดเป็นสื่อที่แสดงความหมายสัญลักษณ์ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาของตัวละคร ซึ่งสมมติว่าเป็นการแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง สมัยก่อนช่างแต้มรูปมักเป็นช่างพื้นบ้าน จึงใช้สีสันเลียนแบบธรรมชาติ ไม่เคร่งครัดเรื่องสัดส่วนของรูปร่าง คน สัตว์ วัตถุสิ่งของมากนัก ตามคติความเชื่อของชาวอีสาน ผ้าผะเหวดไม่ใช่แค่เครื่องประดับที่ใช้ในงานประเพณี ที่ตกแต่งให้ดูสวยงามเท่านั้น แต่ยังมีแง่คิดและกุศโลบาย ที่ทำให้ผู้คนที่มาร่วมงานพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ ได้รับรู้ในคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่แฝงหลักธรรมคำสอนไว้ในรูปทรงและสีสันที่อยู่ในผ้าผะเหวด การร้อยเรียงของศิลปะ ล้วนมีกุศโลบายคำสอนที่แฝงอยู่เป็นจำนวนมาก มันเป็นแนวทางในการการดำเนินชีวิตให้พ้นทุกข์
References
ประตูสู่อีสาน. (2564). ผ้าผะเหวด. สืบค้น 19 มีนาคม 2565. จาก https://www.isangate.com/new/32-art-culture/knowledge/542-pa-pa-wes.html.
พรหมา พิทักษ์, บรรณาธิการเรียบเรียง. (2557). นัยแห่งสัญลักษณ์. กรุงเทพฯ: ต้นธรรม.
พระครูศรีปัญญาวิกรม. (2558). สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาในสังคมไทย. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 10(20), 19-30.
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิเถร). (2553). พระมาลัย ลงไปโปรดสัตว์นรก. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สัมปชัญญะ.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศิราพร ณ ถลาง. (2551). ทฤษฏีคติชนวิทยา : วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตานาน-นิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุริยา สมุทคุปติ์ และ พัฒนา กิตติ. (2536). ฮีตบ้านคลองเมือง. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.