รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 สำหรับผู้บริหารวิทยาลัยครู ในนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • พระอานันทะสัก นนฺทิวฑฺฒโน (พัดทะสีลา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประจิตร มหาหิง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาพิสิฐ วิสิฏฺฐปญฺโญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การสร้างและพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำ, หลักสัปปุริสธรรม 7, ผู้บริหารวิทยาลัยครู, นครหลวงเวียงจันทน์, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นว่าด้วยภาวะผู้นำของผู้บริหารวิทยาลัยครู ในนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (2) สร้างและพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำ และ (3) ประเมินรูปแบบที่เหมาะสม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 196 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 12 รูป/คน ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา และการใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNIModified) ในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น

ผลการศึกษา พบว่า สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ว่าด้วยภาวะผู้นำ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ วิสัยทัศน์ รองลงมา คือ คุณธรรม ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มนุษยสัมพันธ์ และค่าดัชนี PNImodified ของความต้องการจำเป็นโดยรวมเฉลี่ย .18 ส่วนค่าดัชนี PNImodified ของความต้องการจำเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านลำดับที่ 1 คือ มนุษยสัมพันธ์ ลำดับที่ 2 คือ ความชำนาญ ลำดับท้ายสุด คือ วิสัยทัศน์

การสร้างและนำเสนอรูปแบบภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 พบว่า ทั้ง 4 ด้าน คือ 1) วิสัยทัศน์ 2) ความชำนาญ 3) มนุษยสัมพันธ์ และ 4) คุณธรรม มีรายละเอียด ดังนี้ มนุษย์สัมพันธ์ “เก่งคน” ความชำนาญ “เก่งงาน” วิสัยทัศน์ “เก่งคิด” คุณธรรม “เก่งธรรม” โดยทั้ง 4 ด้าน รวมถึงวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำ ทั้ง 4 วิธี ได้แก่ 1) การศึกษา 2) การฝึกอบรม 3) การสัมมนา และ 4) การดูงาน สามารถบูรณาการตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ได้ เช่น ด้านการศึกษเข้ากับข้อ 3 อัตตัญญุตา (ผู้รู้จักตน) และข้อ 6 ปริสัญญุตา (ผู้รู้จักชุมชน) เป็นต้น

ผลการประเมินรูปแบบที่สร้างขึ้น มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ในการพัฒนาได้จริง โดยรวมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด

References

ชวนะ ทวีอุทิศ และคณะ. (2559). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(2), 55-65.

ชุมพร ภามนตรี และเฉลย ภูมิพันธุ์. (2559). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ และความคาดหวังของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 13(63), 193-202.

เชาวรินทร์ แก้วพรม, จำเนียร พลหาญ และชยากานต์ เรืองสุวรรณ. (2564). รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 21(4), 196-211.

ธีระ รุญเจริญ. (2541). รายงานการปฏิรูปการศึกษาของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. (เอกสารรายงานต่อสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ) มปท.

นิรันดร์ สุธีนิรันดร์. (2558). การศึกษาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้โดยใช้แนวทางส่งเสริมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 28(1), 157-173.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: เอส.อาร์. พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.

พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวทฒโน และระวิง เรืองสังข์. (2559). การปฏิรูปการศึกษาโดยอาศัยแนวคิดทางการศึกษาของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 3(1), 59-71.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศรสวรรค์ ศรีเรือง และศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิลัน. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 8(2), 469-492.

สุวัฒสัน รักขันโท.(2559). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์เพื่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำและนวัตกรรมทางการศึกษา, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

Hoy, W.K.and Miskel,C.G .(1991). Educational Administration: Theory - Research – Practice. (4th ed). Singapore: McGraw – Hill, Inc.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-23