มูลค่าขยะอาหารของธุรกิจร้านอาหารในเขตอำเภอเมืองและอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
ขยะอาหาร, ผู้ประกอบการ, ร้านอาหาร, ต้นทุนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) คำนวณสัดส่วนและประเมินมูลค่าของขยะอาหารในร้านอาหารในเขตอำเภอเมืองและอำเภอหาดใหญ่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ร้านอาหารที่เข้าร่วมโครงการป้ายของดีจังหวัดสงขลา จำนวน 51 ร้าน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และนำข้อมูลดังกล่าวมาคำนวณหาสัดส่วนและมูลค่าของขยะอาหาร
ผลการศึกษา พบว่า ร้านอาหารในจังหวัดสงขลามีสัดส่วนของขยะอาหารในภาพรวมเท่ากับร้อยละ 9.27 และเมื่อจำแนกร้านอาหารออกเป็นเขตพื้นที่อำเภอเมืองสงขลาและพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ พบว่า ในพื้นที่อำเภอเมืองสงขลามีสัดส่วนของขยะอาหารโดยเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 12.72 สำหรับในเขตอำเภอหาดใหญ่มีปริมาณขยะอาหารโดยเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 7.86 และเมื่อพิจารณาจำแนกตามขนาดของร้านอาหาร พบว่า ร้านอาหารขนาดใหญ่มีสัดส่วนของขยะอาหารโดยเฉลี่ยของเท่ากับร้อยละ 20.09 ร้านอาหารขนาดกลางมีสัดส่วนของขยะอาหารโดยเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 7.43 ร้านอาหารขนาดเล็ก มีสัดส่วนขยะอาหารโดยเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 8.87 ส่วนมูลค่าต้นทุนความเสียหายที่เกิดขึ้นจากขยะอาหารในจังหวัดสงขลามีมูลค่าเท่ากับ 23,407,327.92 บาท/ปี เมื่อจำแนกตามพื้นที่ พบว่า ต้นทุนความเสียหายจากขยะอาหารจากร้านอาหารในพื้นที่อำเภอเมืองสงขลามีมูลค่าเท่ากับ 7,438,372.52 บาท/ปี ในขณะที่ต้นทุนความเสียหายที่เกิดขึ้นจากขยะอาหารในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่มีมูลค่าเท่ากับ 15,968,955.40 บาท/ปี และเมื่อพิจารณาตามขนาด ปรากฏว่าร้านอาหารขนาดใหญ่มีต้นทุนความเสียหายที่เกิดจากขยะอาหารรวมทั้งสิ้น 4,462,618.10 บาท/ปี ส่วนร้านอาหารขนาดกลางมีมูลค่าความเสียหายจากขยะอาหารเท่ากับ 6,485,135.67 บาท/ปี ส่วนร้านอาหารขนาดเล็กมีมูลค่าความเสียหายจากขยะอาหารเท่ากับ 14,170,577.79 บาท/ปี
References
กรมการส่งเสริมการส่งออก. (2555). ธุรกิจบริการ. กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. สืบค้น 25 มิถุนายน 2564. จาก http://www.ditp.go.th/contents_attach/72416/72416.pdf.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2564). ข้อมูลนิติบุคคล : DBDDataWarehouse. สืบค้น 25 มิถุนายน 2564. จาก https://datawarehouse.dbd.go.th/.
ธัญศา สิงหปรีชา. (2564). Zero Food Waste Kitchen : ขยะเป็น ‘ศูนย์’ ง่ายๆ เริ่มได้ในครัว. สืบค้น 27 พฤษภาคม 2564. จาก https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2093497.
ภัทรานิษฐ์ เอี่ยมศิริ. (2563). EIC ส่องร้านอาหารฝ่า COVID–19 ตอน How to พิชิตขยะในร้านอาหาร. สืบค้น 5 กรกฎาคม 2564. จาก https://www.scbeic.com/th/detail/product/6783.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2562). Food waste ปัญหาร่วมระหว่างเราและโลก. สืบค้น 27 พฤษภาคม 2564. จาก https://tdri.or.th/2019/10/food-waste/.
สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 (สงขลา) สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2564). รายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อม ปี 2563 (จังหวัดสงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส). สงขลา: สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 (สงขลา).
Dagiliūtė, R., & Musteikytė, A. (2019). Food waste generation: restaurant data and consumer attitudes. Environmental Research, Engineering and Management, 75(2), 7-14.
Thamagasorn, M., & Pharino, C. (2019). An analysis of food waste from a flight catering business for sustainable food waste management: A case study of halal food production process. Journal of Cleaner Production, 228, 845-855.