การศึกษาความคุ้มค่าทางการเงินในการลงทุนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา สำหรับบ้านอยู่อาศัย ในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • กัญญาณัฐ สายวิโรจน์สกุล เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • มานะ ลักษมีอรุโณทัย ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ชิดตะวัน ชนะกุล ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความคุ้มค่าทางการเงิน, ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา, พื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคุ้มค่าทางการเงินในการลงทุนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา สำหรับบ้านอยู่อาศัย ในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย (2) ทดสอบค่าความแปรเปลี่ยน และประเมินความเสี่ยงในการลงทุนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา สำหรับบ้านอยู่อาศัย ในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้ทำการวิเคราะห์และคำนวณมูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนภายในโครงการ และระยะเวลาคืนทุน จากนั้นจึงนำมาพิจารณาตามหลักเกณฑ์การตัดสินใจลงทุน และวิเคราะห์ความอ่อนไหวทั้งด้านต้นทุนและด้านรายได้ รวมทั้งทดสอบค่าความแปรเปลี่ยนของอัตราการรับซื้อไฟฟ้า ปริมาณการใช้ไฟฟ้าและเงินลงทุน ที่ทำให้โครงการมีความคุ้มค่าทางการเงิน

ผลการศึกษา พบว่า การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินในกรณีฐาน โดยกำหนดสัดส่วนแหล่งเงินลงทุนหนี้สินต่อทุน เท่ากับ 50:50  พบว่า โครงการไม่มีความคุ้มค่าทางการเงิน แต่ทั้งนี้เมื่อทำการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการ ในกรณีที่แหล่งเงินลงทุนมาจากส่วนของเจ้าของร้อยละ 100 ทำให้มีต้นทุนเฉลี่ยของเงินทุนแบบถ่วงน้ำหนัก (WACC) เท่ากับร้อยละ 2.35 พบว่าโครงการมีความคุ้มค่าทางการเงิน

การวิเคราะห์การทดสอบค่าความแปรเปลี่ยน พบว่า อัตราการรับซื้อไฟฟ้า ตั้งแต่ 3.1927 บาทต่อหน่วยขึ้นไป หรือปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อราย ตั้งแต่ 36,420.89 หน่วยต่อปี หรือเงินลงทุนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 144,870.64 บาท จึงจะทำให้โครงการมีความคุ้มค่าในการลงทุน

References

กองพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2560). คู่มือความรู้การติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตไฟฟ้าบนหลังคา. สืบค้น 8 กันยายน 2564. จากhttp://webkc.dede.go.th/testmax/sites/default/files/คู่มือโซลาร์เซลล์%20แบบย่อ.pdf.

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (2561). ประกาศการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เรื่องการทบทวนอัตราค่าไฟฟ้าตามหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าปี 2558. สืบค้น 7 มิถุนายน 2564. จาก https://www.pea.co.th/Portals/0/demand_response/Electricity%20Reconsider.pdf?ver=2018-10-01-155123-370.

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน. (2564). ประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาสำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย พ.ศ. 2564. สืบค้น 5 มิถุนายน 2564. จาก https://www.erc.or.th/web-upload/200xf869baf82be74c18cc110e974eea8d5c/tinymce/ประกาศโซลาร์ประชาชน%202564%20(1).pdf.

จุฬารัตน์ จำปีรัตน์. (2558). การศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินของโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar PV Rooftop) สำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไป ในพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (การค้นคว้าอิสระปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ธนาคารกสิกรไทย. (2564). สินเชื่อโครงการพิเศษรับประกันการประหยัดพลังงาน (Solar rooftop). สืบค้น 11 กันยายน 2564. จาก https://www.kasikornbank.com/EN/business/sme/loan/special-loan/Pages/k-energy-saving-guarantee-program-solar-rooftop.aspx?TermStoreId=a4c36b1b-fd93-4ca9-b412-06fedcf3153b&TermSetId=119a23c1-b2d8-4e62-b089-a12259530e36&TermId=47d06525-c95e-4bb3-b0a9-eeb637cbdeba.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). พันธบัตรรัฐบาลที่ออกจำหน่ายในปี 2564. สืบค้น 20 ธันวาคม 2564. จาก https://www.bot.or.th/Thai/DebtSecurities/SalestoIndividuals/GOVBond/Pages/default.aspx.

วสุพร ติ๋วงาม. (2558). การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการติดตั้งโซลาร์รูฟอย่างเสรี สำหรับบ้านที่อยู่อาศัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

วิภา เล็กกุลวัฒน์. (2559). การศึกษาความคุ้มค่าทางการเงินในการเข้าร่วมโครงการนำร่องการส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์รูฟอย่างเสรี กรณีศึกษาในเขตพื้นที่ของการไฟฟ้านครหลวง. (การค้นคว้าอิสระปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ศูนย์ข่าวพลังงาน (Energy News Center-ENC). (2564). ติดตามสถานการณ์การร่วมโครงการโซลาร์ภาคประชาชน. สืบค้น 10 ธันวาคม 2564. จาก https://www.energynewscenter.com/โซลาร์ภาคประชาชนปี-64-หลุ/.

ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย. (2564). Solar Rooftop ภาคครัวเรือน. สืบค้น 10 ธันวาคม 2564. จากhttps://krungthai.com/Download/economyresources/EconomyResourcesDownload_457Solar_Rooftop _ภาคครัวเรือน_แหล่งรายได้เสริมของผู้พัฒนาอสังหาฯ_31_03_64.pdf.

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2562). การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้พลังงานรายภาคเศรษฐกิจ. สืบค้น 5 มิถุนายน 2564. จากhttp://www.eppo.go.th/index.php/th/energy-information/static-energy/static-co2.

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2562). คู่มือการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์. สืบค้น 15 สิงหาคม 2564. จาก https://webkc.dede.go.th/testmax/sites/default/files/คู่มือ%20การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์%20BLN_0.pdf.

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2563). แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2561-2580 (AEDP 2018). สืบค้น 5 มิถุนายน 2564. จากhttp://www.eppo.go.th/images/Infromation_service/public_relations/PDP2018/PDP2018Rev1.pdf.

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2563). รายงานสถิติพลังงานรายปี 2563. สืบค้น 5 มิถุนายน 2564. จาก http://www.eppo.go.th/index.php/th/component/k2/item/16366-energy-statistics-2563.

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2563). สรุปผลการตรวจวัดข้อมูลความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2563. สืบค้น 15 สิงหาคม 2564. จากhttps://www.dede.go.th/ewt_dl_link.php?nid=55493&filename=solar_intensity.

สุริยนต์ ชมดี. (2558). การประเมินการลงทุนระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านอยู่อาศัย ในภาคเหนือของประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-22