ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการการตัดสินใจเลือกซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในอำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • ชนม์รัศมิ์ เพียรพรเจริญ นิสิตปริญญาโท สาขาธุรกิจการเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • กุลภา กุลดิลก ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อภิชาต ดะลุณเพธย์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

จันทบุรี, ต้นทุนและผลตอบแทน, เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

บทคัดย่อ

บความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในพันธุ์ที่ต่างกัน และ (2) ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพันธุ์ที่ต่างกัน จะเป็นข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ในการชักจูงให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนชนิดเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพมากขึ้นได้ โดยการสัมภาษณ์จะแบ่งเป็นส่วนแรกเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จำนวน 120 ราย เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ และส่วนที่สองจำนวน 50 ราย เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทน จากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรในอำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี

ผลการศึกษา พบว่า การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยประชากรศาสตร์กับบริษัทจำน่ายเมล็ดพันธุ์ 4 บริษัท ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ได้แก่ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ลักษณะพื้นที่เพาะปลูก และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์ คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ที่ให้ผลผลิตต่อไร่ที่สูง

การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พบว่า เกษตรกรที่ใช้พันธุ์ D มีต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ยต่อไร่ต่ำที่สุด เท่ากับ 4,562.00 บาท รองลงมาเป็นพันธุ์ B พันธุ์ A และพันธุ์ C เท่ากับ 4,699.97 4,705.40 และ4,724.28 บาท ตามลำดับ แต่ในด้านผลผลิตต่อไร่ พันธุ์ B ให้ผลผลิตต่อไร่มากที่สุดเท่ากับ 1,212 กิโลกรัม ในระดับราคาขายที่เท่ากันทุกกลุ่มจึงทำให้ผู้ที่ใช้พันธุ์ D ได้รับผลตอบแทนต่อไร่ดีที่สุด เท่ากับ 3,838.00 บาท

ข้อเสนอะแนะจากงานวิจัย คือ เกษตรกรควรศึกษาพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกของตนเองมากขึ้น ไม่ควรปลูกตามเกษตรกรรายอื่นมากเกินไป และบริษัทจำหน่ายเมล็ดพันธุ์แต่ละบริษัทควรส่งนักส่งเสริมการเกษตรเข้ามาประชาสัมพันธ์หรือจัดทำแปลงสาธิตในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางรายได้และความยั่งยืนในการผลิต

References

กรมการค้าระหว่างประเทศ. (2565). ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. สืบค้น 5 มกราคม 2565. จาก https://www.dtn.go.th/th.

ชัยวัฒน์ บุญปาล. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสม รุ่นเอส7328 ของเกษตรกรในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจเกษตร, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

นิกร จรชื่น. (2560). พฤติกรรมการซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในจังหวัดพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช).

ภาณุวัตร ค้ำชู, ภัทรพงศ์ มาลาวัลย์ และ อนุพงศ์ วงศ์ไชย. (2563). ประสิทธิภาพทางเทคนิคของการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน. วารสารแก่นเกษตร, 48(พิเศษ 1), 735-742.

เมธาพร อินทกูล. (2545). ต้นทุน ผลตอบแทนและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรชาวเขา ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยน้ำริน อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ปีการเพาะปลูก 2543. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้).

สำนักงานการค้าสินค้ากรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2565). ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พิกัด 1005.90.90.002. สืบค้น 12 มีนาคม 2565. จาก https://api.dtn.go.th/files/v3/616fc6ebef414011a55a8b8e/download.

สำนักงานจังหวัดจันทบุรี. (2565). ข้อมูลทั่วไปของจังหวัด. สืบค้น 10 มกราคม 2565. จากhttp://www.chanthaburi.go.th/content/generalth.pdf.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2565). ข้อมูลการผลิตสินค้าเกษตร. สืบค้น 27 มกราคม 2565. จาก https://www.oae.go.th/.

Scott M. Smith. (2013). Determining Sample Size How to Ensure You Get the Correct Sample Size. Retrieved 4 October 2022. from https://uncw.edu/irp/ie/resources/documents/qualtrics/determining-sample-size-2.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-04