การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคอาหารทะเลผ่านทางออนไลน์ ในช่วงการระบาดของโควิด 19 ในภาคใต้
คำสำคัญ:
พฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์, อาหารทะเล, ธุรกิจแพปลาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการซื้ออาหารทะเลผ่านทางออนไลน์ในภาคใต้ และ (2) ศึกษาส่วนประสมทางการตลาดในการขายอาหารทะเลออนไลน์ในภาคใต้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบูรณาการงานวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การเก็บข้อมูลเชิงลึกและเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากผู้ที่เคยบริโภคอาหารทะเลออนไลน์ในภาคใต้ โดยการแจกแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 400 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ด้วยการแจกแจงความถี่ โดยแสดงผลเป็นค่าร้อยละ
ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเล ผู้บริโภคเลือกจากความชอบด้านรสชาติและเนื้อสัมผัสมากที่สุด รองลงมา พิจารณาจากคุณค่าทางโภชนาการ ด้านการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสมอง ป้องกันโรคสมองเสื่อม ลดระดับไขมันต่ำและคอเลสเตอรอล ปริมาณการซื้อ 1 กิโลกรัมต่อครั้ง พฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลผ่านทางออนไลน์ พบว่า ผู้บริโภคเลือกซื้ออาหารทะเลในรูปแบบสดและสามารถพร้อมปรุง โดยที่รูปแบบบรรจุภัณฑ์เป็นแบบธรรมดา ไม่จำเป็นต้องมีลวดลาย ปริมาณ 1 กิโลกรัม และระยะเวลาที่ได้รับสินค้า 1 วัน
ส่วนประสมทางการตลาดในการขายอาหารทะเลออนไลน์ พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคสนใจสัตว์น้ำในกลุ่มปลา, กุ้ง และปู โดยสีของสัตว์น้ำต้องไม่ซีด นิยมบรรจุภัณฑ์แบบพลาสติกสุญญากาศ ขนาด 1 กิโลกรัม และผ่านการยอมรับจากมาตรฐานต่างๆ เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ ด้านราคาอยู่ระหว่าง 251-500 บาทต่อครั้ง และค่าขนส่งที่ต่ำกว่า 100 บาท ผ่านทางแอพพลิเคชั่น Facebook, Line และ Grap โดยเห็นว่ามีความสะดวกและใช้งานง่าย นอกจากนี้ผู้บริโภคให้ความสำคัญด้านโปรโมชั่นด้านค่าขนส่งฟรีและด้านการมีของแถม
ผู้ประกอบการในภาคใต้ควรทำการโฆษณาสินค้าให้น่าสนใจและสามารถดึงดูดผู้บริโภคให้ซื้ออาหารทะเลผ่านทางออนไลน์ ตอบข้อสงสัยด้วยข้อความที่สุภาพและเป็นมิตร และส่งเสริมการขายด้วยการจัดโปรโมชั่นต่างๆ ให้ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภค
References
นครินทร์ แซ่ตัน. (2557). แผนธุรกิจข้าวสังข์หยด. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาธุรกิจการเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
พัลลภา ปีติสันต์. (2562). ขายอาหารสดแบบออนไลน์ มีเทคนิคง่ายๆ ทำได้อย่างไร. สืบค้น 25 ตุลาคม 2564 จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/123346.
รวิสรา ศรีบรรจง และ นันทวัน เหลี่ยมปรีชา. (2564). พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคภายใต้ความปกติใหม่ (New Normal) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ที่มีผลต่อส่วนประสมการตลาดออนไลน์. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, มหาวิทยาลัยนเรศวร).
รัชนีกร ตรีสมุทรกุล. (2559). นวัตกรรมโมเดลธุรกิจอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรบรรเทาปวด. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
รุ่งระวี มูลเกตุ. (2565). ผู้ประกอบการแพปลา ต. โชครุ่งระวี, สัมภาษณ์. 12 พฤษภาคม 2565
อธิบดี จิตตรัตน์. (2563). แผนธุรกิจขายอาหารคลีนแบบเดลิเวอรี่ภายใต้แบรนด์ SKPD Foods. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
อารีญา โลกถวิล. (2563). ความสำเร็จในการปนะกอบธุรกิจค้าส่งอาหารทะเลสดของผู้ประกอบการในอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาบัญชี). มหาวิทยาลัยรามคำแหง
อารีรัตน์ โพธิ์สุภาพ. (2562). การตัดสินใจซื้ออาหารทะเลแช่แข็งผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. สืบค้น 18 ตุลาคม 2564. จาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin-9/6214155009.pdf.
Love, D. C., et al. (2021). Emerging COVID-19 impacts, responses, and lessons for building resilience in the seafood system. Global Food Security, 28, 100494.