การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยวิธีการสอน SQ4R ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
คำสำคัญ:
กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ, วิธีการสอน SQ4R, แพลตฟอร์มออนไลน์, ความสามารถในการอ่านจับใจความ, ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างและทดสอบประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยวิธีการสอน SQ4R ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 75/75 (2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยวิธีการสอน SQ4R ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการทดลองขั้นต้น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเซนต์โยเซฟนครสวรรค์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test แบบ dependent
ผลการศึกษา พบว่า กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยวิธีการสอน SQ4R ร่วมกับแพลตฟอร์มออนไลน์ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 Survey (S) ขั้นที่ 2 Question (Q) ขั้นที่ 3 Read (R) ขั้นที่ 4 Record (R) ขั้นที่ 5 Recite (R) ขั้นที่ 6 Reflect (R) โดยมีเนื้อหา 3 เรื่อง ได้แก่ 1) My family 2) Fantastic Fish 3) Weird Food ผลการพิจารณาความเหมาะสมของกิจกรรมการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญพบว่ามีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 กิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.67/78.80
ความสามารถในการอ่านจับใจความหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยวิธีการสอน SQ4R ร่วมกับแพลตฟอร์มออนไลน์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องนโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. สืบค้น 2 มีนาคม 2565. จาก http://www.reo1.moe.go.th/ strategy3/.
กาญจนา วิชญาปกรณ์. (2534). เอกสารประกอบการสอนการอ่าน. พิษณุโลก: ภาควิชาภาษาไทย และภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.
ณภัทร ทิพธนามาศ, สมมาตร์ ผลเกิด และ สุรชัย ปิยานุกูล. (2556). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิจัยและพัฒนา, 8(1), 61-68.
นฤมล เทพนวล. (2557). การพัฒนารูปแบบ SQ4R บนเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่าน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 6(1), 206-219.
ปาริชาติ ธีรกุล. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความภาษาอังกฤษและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยวิธีการสอนแบบ SQ4R. วารสารวิชาการศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์, 4(2), 42-54.
พรประภา อั๋นดอนกลอย. (2555). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยนเรศวร).
รุ่งหทัย บุญพรม. (2563). Digital Learning Platform: เทรนด์การเรียนรู้ในยุคดิจิทัล. วารสารปัญญาพัฒน์, 39(1), 84-89.
โรงเรียนเซนต์โยเซฟนครสวรรค์. (2565). สถิติการยืมหนังสือของห้องสมุดโรงเรียนเซนต์โยเซฟนครสวรรค์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565. นครสวรรค์: โรงเรียนเซนต์โยเซฟนครสวรรค์.
วิไลวรรณ วงศ์จินดา. (2564). แพลตฟอร์มการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาทักษะการเรียนในศตวรรษที่ 21. (วิจัยตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ).
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2564). ผลการสอบกลุ่มสารการเรียนรู้ (วิชาภาษาอังกฤษ) ระดับประเทศ ปีการศึกษา 2564. สืบค้น 2 มีนาคม 2565. จาก https://www.niets.or.th/th/.
สมหมาย เพ็งแก้ว. (2562). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเนื้อหาบริบทท้องถิ่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา).
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). ผลสำรวจการอ่านหนังสือของประชากร พ.ศ. 2561. สืบค้น 2 มีนาคม 2565, จาก https://webs.rmutl.ac.th/assets/upload/files/2016/09/.pdf.
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สพฐ. (2560). แนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สืบค้น 2 มีนาคม 2564, จากhttps://webs.rmutl.ac.th/assets/upload/files/2016/09/.pdf.
สิริรัตน์ อะโน. (2553). การพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้แบบฝึกการอ่านจับใจความสำคัญสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2554). วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: หจก. เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุคนธรัตน์ สวัสดิกูล. (2554). การสร้างชุดการสอนอ่านจับใจความด้วยวิธี SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยทักษิณ).
สุชาดา เบาะเปลี่ยน. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับกลวิธีมัลติพาร์ท. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 31(3), 99-108.
อรวรรณ พุทธมนต์ทักษิณ. (2554). การใช้วิธีสอนตามรูปแบบเอริกา (ERICA Model) ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม 5W 1H ที่มีผลต่อความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรเละการสอน, มหาวิทยาลัยทักษิณ).
Gunning, T.G. (1996). Creating Reading Instruction for all Children. Boston: Allyn & Bacon.
Isma Wati. (2018). The Effect of Applying SQ4R Model by Message in the Bottle. (Doctoral dissertation, University Of Muhammadiyah Sumatera Utara Medan).
Mehmet Gurbuz. (2017). Effect of the SQ4R Technique on the Reading Comprehension of Elementary School 4th Grade Elementary School Students. International Journal of Instruction, 10(2), 1308-1470.
Rahma, F. E. (2018). The Influence of Using Survey, Question, Read, Recite, Reflect, and Review (SQ4R) Strategy Towards Students’reading Comprehension at The First Semester of The Eighth Grade of Mts Al Utrujiyyah Bandar Lampung 2017/2018 In The Academic Year. (Doctoral dissertation, UIN Raden Intan Lampung).
Walter Pauk. (1984). The New SQ4R. Journal Reading World, 23(3), 274-275.