การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบตอบสนองด้วยท่าทาง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • นฏวรรณ หาญทองช่วง สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ชำนาญ ปาณาวงษ์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง, กิจกรรมการเรียนรู้แบบตอบสนองด้วยท่าทาง, ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างและประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้แบบตอบสนองด้วยท่าทาง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 75/75 (2) เปรียบเทียบความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบตอบสนองด้วยท่าทาง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระเบียบวิธีวิจัยดำเนินการตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดเหล่าขวัญ (จ่างอนุเคราะห์) จังหวัดพิษณุโลก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 17 คน โดยใช้แบบแผนการทดลอง One Group Pretest-Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมการเรียนรู้และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบตอบสนองด้วยท่าทาง 2) แบบวัดความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test แบบ dependent sample

ผลการศึกษา พบว่า กิจกรรมการเรียนรู้แบบตอบสนองด้วยท่าทาง ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นนำเสนอและทบทวนบทเรียน ขั้นที่ 2 ขั้นปฏิบัติ ขั้นที่ 3 ขั้นประเมินการปฏิบัติและการให้ข้อมูลป้อนกลับ ขั้นที่ 4 ขั้นประเมินผลโดยใช้กิจกรรมที่หลากหลาย กิจกรรมการเรียนรู้มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.11/78.22

ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบตอบสนองด้วยท่าทางสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

ณัฐชนก เนาวรังสี. (2555). ผลการใช้แนวการสอนเพื่อการสื่อสารเสริมด้วยการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางที่มีต่อความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี).

ทิพย์วลี สุขปาน. (2560). การใช้วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางเพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี).

ปทิตตา ติวงค์. (2557). การพัฒนาความสามารถด้านการฟัง-พูดภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยทักษิณ).

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คำสมัย.

ละออง สุภะโส, ประยงค์ กลั่นฤทธิ์ และ วิไลลักษณ์ ริอัค. (2554). การพัฒนาความสามารถด้านการฟังและพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การสอนแบบการตอบสนองด้วยท่าทางของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. (การค้นคว้าแบบอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี).

วันทนี ไพรินทร์. (2547). การพัฒนาความสามารถในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนคลองทวีวัฒนา ที่ได้รับการสอนโดยวิธีสอนแบบการตอบสนองด้วยท่าทาง. (สารนิพนธ์ศิลปศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

วารุณี ศิริ. (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) ที่มีผลต่อทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

ศันสนะ มูลทาดี. (2559). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีแสดงบทบาทสมมุติ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 10(1), 68-83.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2564). ผลการสอบกลุ่มสารการเรียนรู้ (วิชาภาษาอังกฤษ) ระดับประเทศ ปีการศึกษา 2564. สืบค้น 10 ธันวาคม 2564. จาก https://www.niets.or.th/th/.

Adnan Oflaz. (2019). The foreign language anxiety in learning German and the effects of total physical response method on students’ speaking skill. Journal of Language and Linguistic Studies, 15(1), 70-82.

Asher, J. (1979). Learning Another Language Through Actions. The Complete Teacher’s Guidebook. California: Sky Oaks Productions.

Dwi Suryaningrum. (2017). The Effect of Total Physical Response Technique on the Eleventh Graders Speaking Ability at SMA PSKD 7 Depok. Journal of English teaching. 3(1), 55-64.

Young, K. S. (1996). Psychology of computer use: XL. Addictive use of the Internet: A case that breaks the stereotype. Psychological Reports, 79(1), 899-902.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-23