การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้ตามแนวคิดอิงสถานที่เพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • นฤชินท์ โพธิ์แจ้ง สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อังคณา อ่อนธานี สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนรู้, การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน, การเรียนรู้อิงสถานที่, การรู้สิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างและประเมินประสิทธิภาพกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้ตามแนวคิดอิงสถานที่เพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 75/75 (2) เปรียบเทียบการรู้สิ่งแวดล้อมด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้ตามแนวคิดอิงสถานที่เพื่อพัฒนาการรู้สิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กับนักเรียน จำนวน 16 คน โรงเรียนบ้านปากคลองเรือ (โพธิ์โตนด) ปีการศึกษา 2565 ที่ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้ตามแนวคิดอิงสถานที่เพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อม 2) แบบวัดการรู้สิ่งแวดล้อม โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้ตามแนวคิดอิงสถานที่เพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อม ซึ่งมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) แบบวัดความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม 2) แบบวัดความรู้สึกด้านสิ่งแวดล้อม 3) แบบวัดความสามารถด้านสิ่งแวดล้อม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนโดยใช้สถิติแบบ t-test ที่ระดับนัยสำคัญ .01

ผลการศึกษาพบว่า กิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้ตามแนวคิดอิงสถานที่ มี 5 ขั้นตอน 1) ขั้นการกำหนดปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจริงในชุมชน 2) ขั้นทำความเข้าใจกับปัญหาเกี่ยวสิ่งแวดล้อมที่สนใจ 3) ขั้นดำเนินการศึกษาค้นคว้าตามกรอบการศึกษาที่กำหนด 4) ขั้นสังเคราะห์ความรู้ สรุปและประเมินค่าของคำตอบ 5) ขั้นนำเสนอและประเมินผลงาน ซึ่งมีผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.08, S.D. = 0.18) และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.77/75.24 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 

ผลการเปรียบเทียบการรู้สิ่งแวดล้อมก่อนและหลังเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้ตามแนวคิดอิงสถานที่ การรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

พัชรพล ไตรทิพย์. (2559). การพัฒนาหลักสูตรการจัดการขยะเพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเทศบาลบ้านค้อ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

พิรุณ ศิริศักดิ์. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมตามแนวคิดอิงสถานที่เพื่อส่งเสริมสัมผัสด้านสถานที่และการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร. (2553). การศึกษาปฐมวัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารวงการครูและผู้ปกครอง ,71, 22-23

Population Reference Bureau. (2012). 2012 world population data sheet. Retrieved 20 January 2021. from https://titulaciongeografia-sevilla.es/contenidos/profesores/materiales/archivos/2015-11-04analisis_graficos_tasas.pdf.

Suebnukarn, S. & Haddawy. (2004). A collaborative intelligent tutoring system for medical problem-based learning. Retrieved 20 January 2021. from http://haddawy/pups/ivi04.pdf.

Swanepoel, C.H., Loubser, C.P., Chacko, C.P.C. (2002). Measuring the environmental literacy of teaching. South African Journal of Education, 22(4), 282-285.

UNESCO. (1987). Moscow, 87 UNESCO-UNEP International Congress on Environmental Education and Training. Connect: Environmental Education Newsletter, 12(3), 1-8.

Wilke, R. J., Peyton, R. B., & Hungerford, H. R. (1980). Strategies for the training of teachers in environmental education. A discussion guide for UNESCO training workshops on environmental education. In Strategies for the training of teachers in environmental education. A discussion guide for UNESCO training workshops on environmental education. UNESCO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-10