การพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงตามหลักเบญจธรรมของนักเรียนโรงเรียนอุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • เอกวิทย์ นันทศรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูภัทรธรรมคุณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

คุณลักษณะที่พึงประสงค์, อยู่อย่างพอเพียง, เบญจธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนอุทัย (2) ศึกษาวิธีการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงตามหลักเบญจธรรมของนักเรียนโรงเรียนอุทัย (3) เสนอแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงตามหลักเบญจธรรมของนักเรียนโรงเรียนอุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 จำนวน 265 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 5 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษา พบว่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนอุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในภาพรวมและรายด้าน มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน

วิธีการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงตามหลักเบญจธรรมของนักเรียนโรงเรียนอุทัย ประกอบด้วย 1) การพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงอันเป็นลักษณะที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนและเป็นคุณลักษณะที่สังคมต้องการในด้านคุณธรรมจริยธรรม 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความพอประมาณ ด้านความมีเหตุผล ด้านความมีภูมิคุ้มกันที่ดี ด้านความรู้ ด้านคุณธรรม 2) หลักเบญจธรรม ได้แก่ เมตตากรุณา สัมมาอาชีพ กามสังวร สัจจวาจา สติสัมปชัญญะ

แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงตามหลักเบญจธรรมของนักเรียนโรงเรียนอุทัย ประกอบด้วย (1) ด้านความพอประมาณ โรงเรียนควรมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อสร้างจิตสำนึกตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (2) ด้านความมีเหตุผล โรงเรียนควรส่งเสริมนักเรียนให้มีการจัดระบบความคิดของตนเอง (3) ด้านความมีภูมิคุ้มกันที่ดี โรงเรียนควรส่งเสริมพัฒนานักเรียนใช้สติสัมปชัญญะตามหลักเบญจธรรมในการใช้ชีวิต (4) ด้านความรู้ โรงเรียนควรส่งเสริมการเรียนรู้ให้นักเรียนมีความรู้ในหลักปรัชญาเศรษกิจพอเพียง (5) ด้านคุณธรรม โรงเรียนควรจัดกิจกรรมการเข้าค่ายคุณธรรมจริยธรรมเพื่อสร้างเสริมลักษณะนิสัยให้นักเรียนมีจิตใจใฝ่คุณธรรม

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จิตตินันนท์ ดีหลาย. (2561). การศึกษาคุณลกัษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนไสวนันทวิทย์ จังหวัดตราด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเกริก).

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2553). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ : คำวัด : อธิบายศัพท์และความหมายที่ชาวพุทธควรรู้. กรุงเทพฯ: สถาบันบันลือธรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเมธีวราภรณ์ (สุทัศน์ วรทสฺสี). (2551). เบญจศีลเบญจธรรม:อุดมชีวิตของมนุษย์. กรุงเทพฯ: ต้นบุญ.

พัชรินทร์ หาโกสีย์. (2562). การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงของผู้เรียนสำหรับสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). กรอบทิศทางพัฒนาการศึกษาในช่วงแผนพัฒนา เศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550–2554). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรศักดิ์ โจถาวร. (2555). แนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

มนูญ มุกข์ประดิษฐ์. (2547). การศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องมาจากพระราชดำริกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-29