การพัฒนาระบบสวัสดิการชุมชนเชิงบูรณาการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางคุณภาพชีวิตให้กับกลุ่มเปราะบางทางสังคมของเทศบาลตำบลสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร

ผู้แต่ง

  • สุเทพ คำเมฆ สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ปฏิมาพร เคลือขอน สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

สวัสดิการชุมชนเชิงบูรณาการ, คุณภาพชีวิต, กลุ่มเปราะบางทางสังคม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาการพัฒนาระบบการจัดสวัสดิการชุมชนเชิงบูรณากาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางคุณภาพชีวิตให้กับกลุ่มเปราะบางทางสังคม และ (2) ศึกษาเงื่อนไขบริบทชุมชนที่ส่งผลต่อความสำเร็จการพัฒนาระบบการจัดสวัสดิการชุมชนเชิงบูรณาการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางคุณภาพชีวิตให้กับกลุ่มเปราะบางทางสังคมการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบกรณีศึกษา พื้นที่ศึกษากองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ คณะกรรมการกองทุน สมาชิกกองทุน ผู้นำท้องที่ และผู้นำท้องถิ่น เครื่องมือที่สำคัญในการใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ นักวิจัยและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ใช้วิธีการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนาระบบการจัดสวัสดิการชุมชนเชิงบูรณาการมีการพัฒนามาจากฐานขององค์กรการเงินและต้องใช้หลักการของระบบที่มีการหนุนเสริมของหุ้นส่วนทางสังคมให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมและสร้างการทำงานแบบประสานความร่วมมือเชิงบูรณาการระหว่างภาครัฐ ภาคท้องถิ่น ภาคประชาชน และภาคเอกชน ได้แก่ โครงสร้างคณะทำงานในเชิงพื้นที่ เครือข่ายและงบประมาณภายในและภายนอก รูปแบบการจัดสวัสดิการชุมชน และการต่อยอดของกองทุนการจัดสวัสดิการชุมชน เพื่อเกิดการบูรณาการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชนเชิงบูรณาการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางคุณภาพชีวิตแบบองค์รวมที่สมาชิกทุกกลุ่มมีโอกาสได้รับสิทธิประโยชน์ตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บ และตายได้อย่างยั่งยืน

ระบบสวัสดิการชุมชนจะมีความเข้มแข็งและความยั่งยืนได้จะต้องมีการหนุนเสริมจากเงื่อนไขบริบทของชุมชน โดยพบอยู่ 6 เงื่อนไขที่สำคัญ ได้แก่ การมีประวัติศาสตร์ของการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนากองทุนฯ ผู้นำและแกนนำที่มีระบบวิธีคิดแบบเห็นประโยชน์ส่วนร่วม โครงสร้างการบริหารแบบกระจายอำนาจ การบูรณาการทำงานของเครือข่ายภายในและภายนอก มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจของสมาชิก และการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ของกลุ่ม

References

กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ. (2554). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสังคมและสวัสดิการที่สอดคล้องกับความต้องการขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและการพัฒนาสังคมของประเทศ. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2556). แผนยุทธ์ศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ. 2556-2566. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

กฤติญา กีรติกอบมณี และ คณิต เขียววิชัย. (2560). รูปแบบการจัดสวัสดิการชุมชนเชิงบูรณาการระดับเมืองที่มีประสิทธิผล. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 10(2), 252-265.

กองทุนสวัสดิการชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี. (2555). เอกสารงานวิจัยกองทุนสวัสดิการชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี ดอก ผล ต้น ใบ. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).

กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์. (2562). สวัสดิการที่เน้นผลิตภาพ (Productive Welfare): ความเข้าใจเบื้องต้น. ใน งานวันปกรณ์ 62 และพิธีมอบประกาศเกียรติคุณนักสังคมสงเคราะห์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2561. ณ กรมการพัฒนาสังคมและสวัสดิการ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิศาสตราจารย์ปกรณ์ อังศุสิงห์.

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2546). บทสังเคราะห์ภาพรวมการพัฒนาระบบสวัสดิการสำหรับคนจน และคนด้อยโอกาสในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท เอดิสันเพรส โปรดักส์ จำกัด.

ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช. (2548). การบริหารสังคมกับโครงสร้างสังคมไทย. กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ ก๊อปปี้

ธัชชนันท์ อิสรเดช และวสันต์ ลิ่มรัตนภัทรกุล. (2563). ชุมชนกับการจัดการปัญหาความเหลื่อมล้ำเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนกรณีศึกษาชาวตำบลหนองสาหร่าย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(11), 375-388.

ประเวศ วะสี. (2542). เศรษฐกิจพอเพียง และประชาคม แนวทางการพลิกฟื้นเศรษฐกิจสังคม. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

มูลนิธิศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ. (2560). การสังเคราะห์องค์ความรู้และสถานการณ์การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะประเด็นสิทธิด้านสุขภาพของกลุ่มเปราะบาง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.).

ระพีพรรณ คำหอม. (2551). รายงานศึกษาการสังเคราะห์องค์ความรู้การพัฒนารูปแบบการบูรณาการเครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนระดับอำเภอ 12 พื้นที่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์.

วิชุตา แก้วเชื้อ. (2554). การเสริมสร้างความเข้มแข็งตามแนวคิดหุ้นส่วนทางสังคมในการจัดสวัสดิการสงคมขององค์กรสาธารณประโยชน์. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 14(1), 116-134.

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2552). ชุมชนท้องถิ่นรวมพลัง สร้างสวัสดิการชุมชน. สืบค้น 24 มิถุนายน 2565. จาก https://web.codi.or.th/wp-content/uploads/2019/05/welfare_181152.pdf.

Shiffman, R. (1989). Comprehensive and integrative planning for community development. New York: Pratt Institute Center for Community and Environmental Development.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-18